แบบบ้านปูนเปลือย บ้านปูนเปลือย คือ บ้านสไตล์ลอฟท์โดยได้รับแรงบันดาลใจ มาจากการรีโนเวทโรงงานเก่า หรือโกดังให้เปลี่ยนเป็นบ้าน หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่มีพื้นที่สำหรับการใช้สอย ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมาพร้อมดีไซน์เรียบ ๆ ไม่เน้นความหวือหวา แต่ให้ความสำคัญกับการแสดงถึงเอกลักษณ์ ของโครงสร้าง หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้สร้าง เช่น ปูน ไม้ เหล็ก ซึ่งการตกแต่งแบบนี้จะให้ความรู้สึกดิบ เท่ แสดงรสนิยมของเจ้า ของบ้านได้เป็นอย่างดี
แบบบ้านปูนเปลือย
ผนังปูนเปลือยเป็นเอกลักษณ์ สำคัญของสไตล์ลอฟท์ (Loft Style) ที่ดูดิบด้านในแบบโรงงานอุตสาหกรรม แต่มีเสน่ห์ในแบบเฉพาะตัว ซึ่งการสร้าง ผนังปูนเปลือยนั้นมีเทคนิคหลายรูปแบบมาก แต่ละรูปแบบก็ให้ความสวยงามแตกต่างกัน รวมถึงข้อดี-ข้อด้อย ของผนังปูนเปลือยแต่ ละแบบที่นิยมทั่วไป

แบบที่ 1 บ้านปูนเปลือย ออกแบบให้สอดรับกับธรรมชาติ
การสร้างบ้านแต่ละหลัง หากไม่ใช่บ้านในหมู่บ้านจัดสรร ก็จะมีอิสระในการเลือกสรรทั้งรูปแบบและวัสดุที่ตรงใจเจ้าของบ้านได้เต็มที่ ซึ่งเราควรจะจับคู่สิ่งที่ดูเข้ากันได้กับบริบทแวดล้อม อย่างเช่น บ้านที่สร้างในบริเวณที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ก็จะเหมาะกับวัสดุที่ดูอ่อนน้อมต่อต้นไม้ใบหญ้า อาทิ บ้านไม้ บ้านอิฐ หรือคอนกรีต ซึ่งจะสอดคล้องไม่กระโดดออกมาให้ขัดกับทัศนียภาพโดยรวม ในเนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จะพาไปชมแนวคิดการสร้างบ้านให้ดูกลมกลืนไปกับแนวทิวเขาหิน เป้นการจำลองธรรมชาติได้แย่างมีเรื่องราวที่น่าสนุกทีเดียว
บ้านปูนเปลือย ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ บ้านขนาดเล็กที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากค่ายพักแรม ที่ดูง่ายๆ และได้รับการต้อนรับจากสภาพแวดล้อมที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ สถานที่พักผ่อนทางธรรมชาติที่จะเพลิดเพลินไปกับทิวทัศน์อันงดงามของภูเขา
อิทธิพลจากธรรมชาติเหล่านี้มีส่วนอย่างมากในการดีไซน์และเลือกวัสดุในการสร้างและองค์ประกอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชุดของหินก้อนใหญ่ ๆ ด้านนอก ลานกรวด ตัวอาคารใช้ไม้กับคอนกรีตที่ไม่ได้เรียงตัวเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนบ้านทั่วไป มีองศาที่เบี่ยง เฉียง ยื่นล้ำออกมาและลึกเข้าไป เหมือนจำลองหินผามาเป็นตัวบ้าน ซึ่งสถาปนิกต้องการแสดงให้เห็นว่าเราสามารถทำอะไรได้ในพื้นที่เล็ก ๆ ที่สะท้อนถึงสภาพแวดล้อมและมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน

การวางแนวอาคารแบบที่ว่ามาทำให้เกิดรูปแบบอาคารที่แยกส่วนไม่สม่ำเสมอ หลังคาแบบ monopitch เป็นแนวลาดเอียงสูงด้านเดียวทำให้ภายในมีส่วนเพดานสูงและต่ำที่ให้ความรู้สึกต่าง ๆ กัน สถาปนิกปิดด้านที่ควรปิดทึบเพื่อความเป็นส่วนตัวและปกป้องบ้านจากแสง และเปิดใส่ผนังกระจกทางทิศเหนือเพื่อดึงแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวบ้านในฤดูหนาวและทางทิศใต้ซึ่งเป็นมุมมองของวิวที่ต้องการ
ส่วนทางเข้าบ้านทำให้น่าสนุกด้วยการปูด้วยแผ่นหินเป็นเส้นโค้งนำทางไปสู่แผงคอนกรีตที่มีช่องประตูเฉียงแหลม เหมือนปากถ้ำที่เป็นรอยแยกของหินแล้วพาผู้มาเยือนหายไปสู่ความมืดเพื่อเข้าสู่อาณาจักรส่วนตัวข้างใน
ภายนอกเหมือนถ้ำ ภายในสนุกด้วยแสง เมื่อเดินตามทางเดินที่คล้ายปากถ้ำเข้ามาจะพบกับความน่าอัศจรรย์ของบ้าน ที่ต้อนรับด้วยแสงสว่างเป็นเส้นตรงเหมือนแสงเลเซอร์โดดเด่นอยู่กลางความมืด นำทางเข้าสู่พื้นที่ผ่านทางประตูที่เอียงเฉียงคล้ายรอยแยกอยู่บนผนังคอนกรีตที่ถูกย้อมให้เป็นสีเทาเข้มด้วยผงหินชนวนและพื้นปูนขัดมัน
แนวคิดนี้เป็นการทดลองทำแบบธรรมชาติ ที่อยู่ภายใต้กฎที่ว่า “เราไม่สามารถควบคุมผลที่ออกมาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะระหว่างขั้นตอนการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ที่ให้เสน่ห์ความงามในแบบที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ซึ่งไม่เหมือนกับสมบูรณ์แบบที่ได้จากเครื่องจักร”

มุมครัวจะทำเป็นลักษณะซุ้มไม้อัดที่ รวมฟังก์ชันเตาปรุงอาหาร เอาอบ ไมโครเวฟ ตู้เย็ย ตู้เก็บของ ชั้นวาง เอาไว้ด้วยกันในจุดเดียว แบ่งพื้นที่ผนังด้านบนใส่กระจกใสและเจาะ บริเวณเหนือซิงค์ล้างใส่หน้าต่างเล็ก ๆ เพื่อเปิดรับแสงและลมให้เข้ามาระบายกลิ่น ควัน ลดความชื้น และสามารถมองออก ไปเห็นวิวในขณะที่ปรุงอาหารได้ ในครัวแม้จะมีซุ้มไม้แต่ไม่ได้ทำให้รู้สึกบีบอัด เพราะเป็นช่วงที่หลังคาเฉียงสูงขึ้น
ถัดจากครัวจะเป็นมุมทานข้าวที่ วางโต๊ะไม้สี่เหลี่ยมลุคธรรมชาติ ไม่หวือหวา เลยไปอีกนิดจะเป็น พื้นที่ต่างระดับเป็นบันไดลงไปยังห้องนั่งเล่น กำหนดตำแหน่งวิว และแสงให้พอดี เมื่อก้าวลงไปในพื้นที่นั่งเล่นที่จมอยู่ ในพื้นที่ต่างระดับที่ต่ำลงไป จะตื่นตากับภาพทะเลสาบ และภูเขาที่คมชัดเต็มจอกระจกกว้างรอบ ๆ McQuarrie และเจ้าของบ้านใส่ใจในการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ และการจัดการอุณหภูมิในบ้านตามธรรมชาติ ดังนั้นกระจกที่สูงจากพื้นจรดเพดานทั้งหมด
จึงถูกทางทิศเหนือซึ่งจะดึงแสงดวงอาทิตย์ เข้าตัวบ้านได้มากในฤดูหนาว ลูกเล่นของช่องแสง สกายไลท์และการซ่อนไฟใต้ฝ้าและผนัง ทำให้เเกิดแสงสว่างเป็นเส้น เหมือนแสงเลเซอร์ ให้ความรู้สึกแบบล้ำยุค ในขณะเดียวกันก็ทำให้นึกถึงภาพถ้ำมืด ๆ ที่มีแสงลอดผ่านช่องว่างที่เป็นรอยแยกรอย แตกส่องเข้ามาภายใน
เราไม่ต้องการทำบ้านที่คุณไป ทุกที่ก็จะเห็นทะเลสาบกว้าง ๆ และวิวภูเขา” นี่คือเหตุผลที่นักออกแบบปิดบางส่วนของบ้านด้วยผนังทึบแล้วค่อย ๆ เปิดเผยมุมมองที่ยอดเยี่ยมในบางจุด ไม่ได้ใส่ผนังกระจรอบบ้านจนเต็มพื้นที่ ซึ่งเป็นการเล่นกับความคิดที่ว่า “คุณต้องไปที่ปากถ้ำเพื่อจะได้เห็นมุมมองที่เปิดกว้าง” เช่นเดียวกันในห้องนอนหลัก ที่ใส่มุมมองอันสวยงามผ่านกรอบกล่องหน้าต่างที่คั่นด้วยผนังคอนกรีตทึบ และช่องแสงตรงปลายเตียงที่ให้วิวพอดีกับระดับสายตาเมื่อนอนอยู่บนเตียง

แบบที่ 2 บ้านปูนเปลือยจับคู่กับฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลาย
คอนกรีต เป็นวัสดุสร้างบ้านหลัก ๆ ที่อยู่คู่ผู้คนทั้วทุกซีกโลกมายาวนาน การนำมาใช้ก็แตกต่างกัน ไปตามสมัยนิยม รวมถึงการใส่ดีไซน์ มุมมองใหม่ๆ เข้าไปตามสายตาของคนต่างยุค แต่เราจะพบว่าการเปลือยเนื้อแท้ ของเนื้อคอนกรีตกลับทำให้เกิดความประทับใจบางอย่าง วิธีการก่อสร้างแบบนี้จึงยังไม่เคยหายไปจากใจคนรักบ้าน อย่างไรก็ตามคอนกรีตที่หนา หนัก ดิบ จำเป็นต้องมีตัวช่วย ลดทอนความรู้สึกเหล่านั้น ซึ่งเนื้อหานี้เราจะไปพบแแบบบ้านปูนเปลือยที่โดดเด่นทั้งการผสมผสานวัสดุ และจังหวะในการออกแบบ ที่ทำให้บ้านดูลงตัวไปหมดกัน
บ้านหลังนี้สร้างขึ้น 3 ชั้น บ้าน 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 363 ตร.ม. บนพื้นที่ 330 ตร.ม. ในออสเตรเลีย Humphrey Homes ให้แนวทางแบบองค์รวมที่ไม่เหมือนใคร โดยรวมเอาปูนเปลือยโชว์ร่องรอยความไม่ สมบูรณ์แบบของกริดไลน์ รูน็อต เข้ากับวัสดุฟาซาดเหล็กฉลุลาย สร้างจังหวะของความทึบ โปร่ง หนักและเบาได้อย่างสมดุล ไม่เพียงเท่านั้น ทีมงานยังคิดเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้นโดยเทคนิคการสร้างอาคาร ที่รักษาความอบอุ่นให้กับอาคารในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูร้อนไปพร้อมกัน
สีเทาของคอนกรีตและความรู้สึก แข็งแรงหนาหนักตามธรรมชาติของวัสดุ กำแพงคอนกรีตสูงกว่า 6.5 เมตร ถูกลดทอนลงด้วยการสร้างช่องว่างระหว่างอาคาร เป็นช่องสี่เหลี่ยมแนวตั้งสูงเรียงไป ตามแนวอาคาร ทำหน้าที่เป็นช่องแสงและช่องเปิด ในขณะเดียวกันใน อีกด้านของบ้านจะห่อหุ้ม ด้วยแผงแผ่นอลูมิเนียมเจาะรู ที่ออกแบบเองลายโปร่งๆ สีขาวสะอาดตา

การออกแบบภายในเน้น การใช้โทนสีธรรมชาติของไม้ คอนกรีต สีกลางๆ อย่างสีเทา สีขาวที่เป็นเสมือนฉากหลังให้บ้านดูผ่อนคลายและสะอาดตา ขับเน้นบางจุดที่ต้องการเพิ่มสีสันให้โดดชัดขึ้น เช่น ภาพวาดในห้องนั่งเล่น โคมไฟสีส้มที่แขวนห้อยเหนือโต๊ะทานข้าวไม้ เป็นต้น
ห้องนั่งเล่นทำสองรูปแบบ คือ ห้องนั่งเล่นแบบ indoor และแบบกึ่ง outdoor ที่เชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของสมาชิกในบ้านชื่นชอบความสดชื่น ของการใช้ชีวิตแบบกลางแจ้ง โดยสถาปนิกทำประตูบานเลื่อนกว้างๆ ให้สามารถเปิดออกไปสร้างความต่อเนื่องระหว่างในบ้านกับภายนอก ออกไปจนถึงสวนได้ลื่นไหลจนเหมือนกลายเป็นพื้นที่เดียวกัน เมื่ออยากเปลี่ยนบรรยากาศออกไปนั่งชิลๆ นอกบ้านก็ทำได้ง่ายๆ ในวันที่อากาศไม่เป็นใจก็ยังมองออกไปชื่นชมทิวทัศน์นอกบ้านได้สบายๆ
ในบ้านมีช่องว่างโถงสูงตรงมุมนั่งเล่น โดดเด่นกับเตาผิงเหล็กทำมือในฝรั่งเศส นำมาติดตั้งแขวนเป็นท่อสีดำสูงจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง เพิ่มความอบอุ่นในฤดูหนาวได้ดี ส่วนในฤดูร้อนตรงจุดนี้ก็จะเอื้อ ให้ความร้อนสามารถ ลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและระบายออกทางช่อง เปิดที่รับข้างบนได้ดี เมื่อมีอากาศที่เย็นกว่าจะไหล เข้ามาแทนที่ทำให้บ้านมีอากาศ หมุนเวียน เมื่อรวมกับช่องเปิดที่ กว้างด้นล่างบ้านจะเย็นสบายในฤดูร้อน
บันไดคอนกรีตขัดมัก ซิกแซกที่วางติดอยู่บนพื้นไม้ เนื้อและผิวสัมผัสที่ต่างกันสุดขั้ว ของสองวัสดุธรรมชติกลับมาอยู่ด้วยกันอย่างพอดี เพิ่มราวเหล็กสีดำโปร่งๆ เข้าไปด้วย บันไดจะมีทั้งความแข็งแรง ความนุ่มนวล และความโปร่งไม่ดูทึบจนทำให้บ้านดูตัน ประกอบกับโคมไฟตกแต่งผนังสีดำที่ให้แสงสวยเมื่อเปิดไฟ กลายเป็นหนึ่งจุดโฟกัสสายตาที่เพิ่มความเก๋ให้จุดนี้ได้อย่างดี