บ้านอิฐโชว์แนว ผนังก่ออิฐโชว์แนว หรือเรียกกันว่าผนังอิฐเปลือยนั้น จะเป็นการก่ออิฐในลักษณะเรียงกัน โดยไม่มีการฉาบปูนทับหน้าเพื่อโชว์แนวอิฐ โดยอาจเลือกใช้อิฐที่มีลักษณะและสีตามความต้องการ เช่น อิฐมอญสีส้ม อิฐขาว หรือจะใช้อิฐมอญเฉดสีต่าง ๆ มาผสมสลับกันก็ได้
บ้านอิฐโชว์แนว

ผนังอิฐโชว์แนว งานก่อสร้างกำลังฮิตที่ ผู้รับเหมา ควรทำความเข้าใจ
1.ผนังอิฐโชว์แนว หรือ ผนังเปลือย เป็นผนังที่ต้องระวังเรื่องความชื้น เนื่องจาก ไม่มีการฉาบปูนและทาสีทับ ดังนั้นความชื้นไม่ว่าจะมาจากภายนอก หรือ จากใต้ดิน
จะเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างง่ายดาย ทำให้ภายในบ้านเกิดความชื้น และอาจตามมาด้วยปัญหาเชื้อรา และปลวกขึ้นบ้านได้ ในการก่อสร้างจะ ต้องเลือกใช้ปูนที่เหมาะสม และมีการป้องกันเรื่องความชื้น ซึ่งอาจจะเป็นการใช้สารเคลือบที่มีสีใส ไม่รบกวนการชมดูผิวแท้ของวัสดุ ซึ่งเป็นความต้องการ ของเจ้าของบ้าน
2.ผนังอิฐโชว์แนว เป็นผนังที่เหมาะจะทำเพียงด้านเดียว ไม่ควรทำทั้งสองด้าน เนื่องจากมันไม่สามารถป้องกันความชื้นและอุณหภูมิได้ เหมือนผนังที่ฉาบปูน และทาสีทับ และด้านที่ควรทำเป็นผนังเปลือย หรือ อิฐโชว์แนว ควรเป็นด้านภายในบ้านที่ดูแลได้ง่ายกว่า ด้านนอกควรฉาบปูนทาสี หรือ อย่างน้อยก็ควรเป็นผนัง ปูนเปลือยขัดมันและลงเคลือบ
เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน แต่หากเจ้าของบ้านต้องการ ผนังโชว์แนวด้านนอกด้วย อันนี้ต้องเพิ่มสารป้องกันชนิดพิเศษ และต้องทำหลังคา ที่ยื่นยาวออกไปให้มากที่สุด เพื่อทำร่มเงาให้กับผนัง
3.ผนังอิฐโชว์แนว เป็นผนังที่เกิดรอยแตกร้าวได้ง่าย เรื่องนี้สำคัญมากๆ ! และ ผู้รับเหมา จะต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของบ้านให้ดี เพราะหากว่าไปทำผนังไว้ใกล้กับ บริเวณที่มีแรงสะเทือนบ่อยๆ อย่างเช่น อยู่ใกล้ด้านที่เป็นถนน ผนังอาจเกิดรอยแตกร้าวได้อย่างรวดเร็ว เพราะได้รับแรง สะเทือนจากรถที่วิ่งไปมาเป็นประจำ ซึ่งหากว่าเกิดรอยแตกร้าวขึ้นแล้ว แก้ไขให้คืนสภาพไม่ง่าย !
หากอยากให้สวยเหมือนเดิม อาจจะต้องถึงขนาดทุบทิ้งแล้ว ก่อใหม่กันเลยทีเดียว !!! ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่พบบ่อย ต้องระวังในเรื่องนี้ แต่สมมุติว่าเกิดปัญหา ขึ้นไปแล้ว อาจจะเป็นการถูกเรียกไปซ่อมแซมแก้ไข วิธีแก้มี 3 ทางคือ ทุบแล้วก่อใหม่ (แต่หากปัจจัยที่ทำให้เกิดการแตกร้าว ไม่ได้รับการแก้ไขป้องกันก็จะเกิดเหตุซ้ำเหมือนเดิม) หรือ เปลี่ยนเป็นผนังแบบฉาบปูนขัดมัน หรือ ที่เรียกว่าปูนเปลือย ก็ลดปัญหาได้ระดับหนึ่ง หรือ… เปลี่ยนแนวไปเป็นผนังฉาบปูนทาสี ซึ่งแบบนี้ไม่ต้องกลัวเรื่อง รอยแตกร้าวมากนัก เพราะแก้ไขได้ง่าย
ไอเดียบ้านสามชั้นอิฐโชว์แนว

อิฐ ไม่ใช่วัสดุที่บ้านเราคุ้นเคยเท่านั้น ในประเทศอื่นๆ ก็นิยมใช้เช่นกัน แม้จะเคยรู้สึกว่าบ้านอิฐเชยไปแแล้วในยุคหนึ่ง แต่โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง เทรนด์บางปีก็ยังหยิบจับวัสดุเก่าๆ ที่เรียบง่ายชนิดนี้กลับมาใช้สร้างบ้านในรูปแบบการตีความใหม่อยู่เสมอ
บ้านหลังนี้ในประเทศบราซิลก็เช่นเดียวกัน สถาปนิกกลับมาทบทวนวัฒนธรรมในการสร้างสถาปัตยกรรมอิฐเปลือยโชว์ ที่เคยเป็นที่นิยมในละตินอเมริกามาเป็นเวลานาน แล้วนำมาปรับรูปลักษณ์ที่มีเส้นสายเรียบคมทันสมัยขึ้น โดยไม่ลืมสร้างความสอดคล้องกับการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดและจุดเด่นของพื้นที่ เพื่อให้เข้าถึงและใช้งานได้ง่ายแบบไร้กาลเวลา
LC House เป็นบ้านสองชั้นพื้นที่ 250 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบบนถนนที่เงียบสงบทางตอนใต้ของ Porto Alegre บราซิล การออกแบบที่แปลกตาด้วยรูปทรงกล่องวางเรียงต่อกัน สลับกับพื้นที่ว่างและผนังกระจก มีที่มาจากความต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัวของบ้าน
สถาปนิกจึงรักษาระยะห่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการทำทางเดิน ลานโล่ง และสนามหญ้าด้านหน้า ขยับตัวอาคารลึกเข้าไปข้างใน นอกจากนี้ที่ดินด้านหนึ่งติดกับเพื่อนบ้าน จึงเหลือเพียงด้านหน้าอาคารที่มีโอกาสเปิดได้ ข้อจำกัดเหล่านี้กระตุ้นให้ทีมงานแสวงหากลยุทธ์ในการปรับแสงและการระบายอากาศของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
สถาปนิกแก้โจทย์ด้วยการสร้างแปลนอาคาร และปริมาตรที่โดดเด่น เป็นอาคารสามก้อนที่วางทิศทางต่าง ๆ กัน แต่ละก้อนจะมีช่องเปิดหลายช่องที่หันหน้าเข้าหาสวนด้านหน้า ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า ด้านซ้าย และขวา ผ่านประตูกระจกขนาดใหญ่ ทำให้บ้าน LC มีความเชื่อมต่อระหว่างภายในภายนอกที่ราบรื่น ในขณะที่บริเวณที่ต้องการความเป็นส่วนตัวยังรับได้ทั้งแสง ลม วิว แต่หันออกจากสายตาของเพื่อนบ้านและผู้คนที่ผ่านไปมา
ระบบโครงสร้างบ้าน LC เป็นอิฐมอญโชว์ให้เห็นแนวการเรียงอิฐสลับไม่ฉาบทับ เสาบ้านเป็นคอนกรีตเปลือย แทรกด้วยวัสดุเหล็กและไม้ ที่เห็นเนื้อแท้ตามธรรมชาติได้ชัดเจน นอกจากนี้ให้ความสำคัญกับการใช้งานจริงและฟังก์ชันที่เน้นแบบไม่ปรุงแต่ง หรือแต่งเติมน้อยที่สุด ด้วยวิธีคิดนี้ จึงนำมาใช้กับการติดตั้งไฟฟ้า ไฮดรอลิก และเครื่องปรับอากาศที่เปิดให้เห็นเส้นสายโครงสร้าง ซึ่งช่วยทำให้หน้างานที่สะอาด เร็ว และประหยัด บ้านอิฐแดง
บ้านสัจจะวัสดุ นำเสนอบรรยากาศดิบ เท่ เซอร์ๆ แบบอารมณ์อาร์ทติส ปล่อยให้เห็นโครงสร้างภายใน ในยุคหนึ่งเมื่อกว่าสิบปีที่แล้วเป็นที่นิยมอย่างมาก เรียกสไตล์นี้ว่าลอฟท์หรืออินดัสเทรียล แม้เวลาจะผ่านไปจนเทรนด์เริ่มจาง แต่คนที่ชื่นชอบในเสน่ห์ของปูน เหล็ก อิฐก็ยังคงมีอยู่

เพื่อนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในบ้านในปริมาณที่พอสำหรับการใช้งานช่วงกลางวัน สถาปนิกจึงสร้างแกนกลางบ้านเชื่อมต่อในแนวตั้งเจาะเพดานสูง 2 เท่า (Double Space) ในพื้นที่ส่วนกลางและทำช่องเปิดขนาดใหญ่พร้อมผนังกระจก เพื่อเปิดรับแสงจากด้านบน บนชั้นสองไม่มีทางเดิน การไหลเวียนจะเกิดขึ้นผ่านสะพานที่เชื่อมต่อทั้งสองด้านของบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่กลางแจ้ง มีเฉลียงที่ชั้นล่างใต้ซุ้มระแนงไม้ และระเบียงบนชั้นสอง ซึ่งคุณสามารถชมวิวที่สวยงามของบริเวณโดยรอบได้
นอกจากการเชื่อมต่อแนวตั้งแล้ว ยังทำแปลนแบบ open plan เชื่อมต่อในพื้นที่แนวนอน สร้างความต่อเนื่องจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้อย่างลื่นไหลกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ รวมห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว แพนทรีครัว ไว้ด้วยกันในจุดเดียว บรรยากาศของบ้านจึงเต็มไปด้วยพื้นที่กว้างขวาง สว่าง สดใส ผสมผสานกันอย่างลงตัว จากพื้นที่ส่วนกลางเราสามารถมองเห็นห้องเกือบทั้งหมดของบ้านได้เลย

ห้องนอนมีส่วนที่เลือกเน้นโชว์อิฐก่อไม่ฉาบเรียบ เฉพาะบริเวณผนังตรงหัวเตียงเท่านั้น ทำให้เห็นสีของอิฐแต่ละก้อนที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับทีมาของดินและอุณหภูมิที่เผา และไม่ได้เปลือยคานเหนือฝ้า หรือเปิดให้เห็นท่อระบบต่างๆ มากนัก ส่วนอื่นๆ ของห้องเน้นใช้งานไม้และสีขาวในบริเวณกว้าง เพื่อให้ห้องนอนที่ต้องการบรรยากาศผ่อนคลายไม่ดิบ กระด้าง จนรู้สึกไม่สบายตา
การตกแต่งบ้านสไตล์ Loft ไม่ใช่เพียงการทำผนังปูนเปลือยโชว์เส้นกริดไลน์ หรือปูนขัดมันเท่านั้น เพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติม อย่างการโชว์โครงสร้างเดิมของอาคารแบบเปลือยๆ ดิบๆ ไม่ปรุงแต่งของเสาคอนกรีต โครงหลังคาเหล็ก อิฐก่อโชว์แนวไม่ต้องฉาบเรียบ เปิดคานเหนือฝ้า วางระบบและท่อต่างๆ ให้เห็นบนผนังหรือเพดานโดยไม่ต้องตีฝ้าเก็บซ่อน เฟอร์นิเจอร์ไม่เน้นแบบบิวท์อิน เลือกใช้แบบลอยตัวที่เคลื่อนย้ายง่ายมากกว่า บ้านหรู
บ้านจึงดูโล่งโปร่งสบาย ในขณะเดียวกันผิวสัมผัสของวัสดุที่ดิบออย่างปูนเปลือยในบริเวณกว้าง อาจทำให้บ้านดูขรึม หนัก รู้สึกอึดอัด ไม่อบอุ่น การเพิ่มโทนสีขาว งานไม้ และกระจก จะสร้างความรู้สึกสมดุลให้บ้านมากขึ้น
ข้อดี-ข้อด้อย ของบ้านอิฐมอญ
- ข้อดีของบ้านอิฐมอญนั้น หลัก ๆ แล้วได้ประโยชน์มาจากตัววัสดุหลัก คือ อิฐมอญ ทั้งสิ้น กล่าวคือตัวอิฐมอญเอง นอกจากจะเบา คงทน มันยังเป็นวัสดุ ที่กันความความร้อนชื้น แบบที่เป็นสภาพอากาศหลักของประเทศไทยได้ดี จึงเหมาะสำหรับการนำมาสร้างบ้าน
- นอกจากนี้ยังรองรับวัสดุกรุผนัง ที่มีน้ำหนักมากได้ รวมถึงช่วยในการยึดเกาะได้ดี หากมีการเจาะผนังเพื่อแขวนสิ่งของต่าง ๆ ทั้งนี้ข้อดีที่ช่างก่อสร้างชอบเกี่ยวกับอิฐมอญอีกประการ ก็คือการที่มันสามารถนำมาใช้เก็บรายละเอียดเล็ก ๆ ของบ้านอิฐมอญได้ เช่น ทำเป็นวงประตู หน้าต่าง หรือใช้ปิดช่องแคบได้โดยที่ไม่ต้องตัดอิฐให้เหลือเศษเยอะ
- รวมถึงบ้านอิฐมอญเอง ยังง่ายต่อการต่อเติม ทุบ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปแบบ บ้านอิฐมอญแบบใหม่ ๆ ได้ง่าย บ้านอิฐมอญยังอาจจะช่วย ลดต้นทุนค่าอิฐได้สูง เนื่องจากอิฐมอญสามารถผลิตได้ง่าย มีแหล่งผลิตในประเทศไทย จึงทำให้ราคาถูก และอิฐมอญยังเป็นวัสดุ ที่ช่างก่อสร้างทั่วไปคุ้นเคยมากอีกด้วย

การตกแต่งบ้านอิฐมอญที่น่าสนใจ
ปิดท้ายด้วยเรื่องของการแต่งบ้านอิฐมอญที่น่าสนใจ สำหรับใครที่อยากเป็นเจ้าของบ้านอิฐมอญ หรืออยากจะสร้างมุมบ้านอิฐมอญขึ้นมาสักจุด ลองดูไอเดียดังนี้
- ตกแต่งบ้านอิฐมอญ ด้วยการทำทางเดินบล็อกอิฐมอญ: ช่วยให้มีลูกเล่นในสวน ตัดกับสีเขียวของสนามหญ้าหรือทางเดิน
- ตกแต่งบ้านอิฐมอญ ด้วยการนำอิฐมอญบล็อกมาแซมด้วยต้นไม้เขียว: สดชื่นสบายตา และยังได้กลิ่นอายวินเทจเล็ก ๆ อีกด้วย
- ตกแต่งบ้านอิฐมอญ ด้วยการทิ้งเสาเปลือยอิฐมอญ: แล้วติดไฟเหลืองนวลเพื่อช่วยสะท้อนสีธรรมชาติของอิฐมอญให้ดูเก่าแบบเก๋า ๆ สวยสไตล์ลอฟต์
- ตกแต่งบ้านอิฐมอญ ด้วยการใช้อิฐมอญจัดเข้ามุมที่ต้องโดนความชื้น: เช่นห้องน้ำ มุมสวนสวย หรือพื้นที่ในบ้านจุดที่มักจะโดนความชื้น เนื่องจากตัวอิฐมอญเหมาะกับพื้นที่ที่ต้องโดนความชื้นสูง แบบไม่ต้องกังวลว่าสีจะด่างหรือลอก อีกทั้งยังทำให้จุดนั้นดูอบอุ่นขึ้นด้วย