สร้างบ้านขนาดเล็ก

สร้างบ้านขนาดเล็ก

สร้างบ้านขนาดเล็ก บ้าน เป็นรากฐานสำคัญของการใช้ชีวิต เจ้าของบ้านที่ได้มัส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการสร้างบ้าน จะมีความผูกพันและรู้สึกเหมือนได้ปลูกสร้างรากฐานสำคัญของชีวิตตัวเองไปด้วย แต่รากฐานนั้นจะมั่นคงเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความใส่ใจและมาตรฐานในการปลูกสร้างบ้านแต่ละขั้นตอน ดังนั้นมาดูกันว่ากว่าจะได้บ้านสักหลัง หรือสร้างรากฐานสำคัญของชีวิตนี้ให้เกิดขึ้นมาได้จนสำเร็จ ต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

แบบบ้านหลังเล็กสีฟ้า 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ

สร้างบ้านขนาดเล็ก นุ่มนวลผ่อนคลาย ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า โจทย์ที่ยากอย่างหนึ่งสำหรับบ้านขนาดเล็กคือ การตกแต่งภายในอย่างไรให้ลงตัว ไม่อึดอัด และใช้เนื้อที่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด หากตอบโจทย์ข้อนี้ได้ บ้านขนาดเล็กก็จะน่าอยู่มากขึ้น แบบบ้านหลังเล็กสีฟ้าที่คัดสรรนำมาให้ชมกัน เป็นบ้านยกพื้นเล็กน้อย สีสันที่สดใสสบายตา กับสีน้ำตาลของไม้ที่เป็นธรรมชาติ มีพื้นที่ระเบียงหน้าบ้านไว้นั่งเล่น กรอบประตู หน้าต่างกระจกเลือกใช้สีขาว

สร้างบ้านขนาดเล็ก

เพื่อให้ตัดกับสีฟ้า เข้ากับบรรยากาศและวิวภายนอกที่เป็นทะเลสาบเป็นอย่างมาก สำหรับบ้านหลังนี้ พื้นที่ใช้สอยประมาณ​ 60 ตร.ม. งบก่อสร้างเบื้องต้น ประมาณ 6.5 แสนบาทภายในใช้โทนสีที่นุ่มนวล ปูพื้นไม้ทั้งหลัง เพื่อให้รู้สึกถึงความผ่อนคลายมากที่สุด เปิดประตูบ้านจะเจอกับโซฟารับแขกทันที ริมหน้าต่างกระจกบานใหญ่ ทำเป็นม้านั่งไม้ ที่มีตู้เล็กๆไว้เก็บของด้านล่าง หมอนอิงเล็กๆจัดวางอย่างน่ารักและเป็นระเบียบ ถือว่าเป็นไอเดียหนึ่งในการใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า เคาเตอร์ครัวไม้ติดผนัง หันหน้าออกทางหน้าบ้าน มีหน้าต่างและเครื่องดูดควันไว้สำหรับระบายอากาศ และระบายกลิ่นจากการทำอาหาร

หลังเคาน์เตอร์ครัว มีห้องนั่งเล่นเล็กๆอีกห้องหนึ่ง ประตูเปิดกว้างได้ ไว้อ่านหนังสือหรือนอนเล่น เป็นส่วนตัวมากขึ้นกว่าเดิม ห้องนอน 1 ห้อง เนื้อที่ไม่มาก มีเพียงแค่เตียงนอนวางไว้กลางห้อง หน้าต่างบานใหญ่ด้านข้างและบานเล็กบนหัวเตียง พอจะช่วยทำให้ปลอดโปร่งได้บ้าง เป็นห้องนอนที่มีไว้เพื่อนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่

นอกจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่มีความสำคัญกับบ้านหลังเล็ก ยังมีเรื่องของแสงสว่างและโทนสีที่ควรคำนึงถึงอีกด้วย เพราะหากภายในบ้านไม่มีช่องแสง ไม่สามารถรับความสว่างจากภายนอกเข้ามาบ้าง จะก่อให้เกิดความอึดอัดคับแคบ ส่งผลให้การอยู่อาศัยไม่ราบรื่นและย่อมมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเจ้าของอีกด้วย

สร้างบ้านขนาดเล็ก 32 ตารางเมตร ออกแบบอย่างชาญฉลาด

สร้างบ้านขนาดเล็ก

เมื่อการสร้างบ้านต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่ใช่น้อยๆ การออกแบบบ้านจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยให้คุ้มค่ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นบ้านขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็กก็ตาม แต่โจทย์สำหรับบ้านขนาดเล็กชั้นเดียวนั้น ถือเป็นโจทย์ที่ยากพอสมควร ที่จะทำอย่างไรให้พื้นที่น้อยๆแต่ละตารางเมตรได้นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

และที่สำคัญต้องทำให้บ้านน่าอยู่ ไม่คับแคบจนอึดอัดใจอีกด้วยBetina Gomes สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านสวยหลังนี้ ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ได้อย่างชาญฉลาด พื้นที่ใช้สอยขนาด 32 ตารางเมตร เปรียบเสมือนห้องในคอนโดมิเนียม เขาสามารถเนรมิตพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้น่าอยู่ ทันสมัย แถมยังดูดีมากๆ

ตัวบ้านภายนอกเป็นไม้สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายใจกลางเมืองได้ดีทีเดียว ภายในเป็นห้องโล่งไม่มีผนังกั้นแบ่งเป็นห้องต่างๆ เคาเตอร์ครัวติดผนัง และเคาเตอร์ครัวกลางห้องสไตล์โมเดิร์น โซฟานั่งเล่นวางชิดติดผนัง ประตูกระจกที่เปิดออกได้กว้าง เชื่อมต่อไปยังระเบียงไม้ด้านหน้า สำหรับบ้านหลังนี้ งบก่อสร้างเบื้องต้นประมาณการไว้ที่ 4 แสนบาท ไม่รวมตกแต่งภายใน

บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น

เฟอร์นิเจอร์หลากหลายฟังก์ชั่น ถูกออกแบบเพื่อนำมาให้ประโยชน์ในพื้นที่แคบๆโดยเฉพาะ โต๊ะทำงานพับเก็บติดผนัง แปรเปลี่ยนเป็นเตียงนอนติดพื้นได้โดยทันที ฉากกั้นห้องที่เลื่อนลงมาจากบนเพดาน กั้นระหว่างห้องครัวและห้องนอน เพียงแค่นี้ก็สามารถพักผ่อนได้อย่างเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้นแล้ว

สร้างบ้านขนาดเล็ก มีเธอ มีฉัน และเพื่อนยากอีก 2 ตัว

บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น ดูแลง่าย ทำความสะอาดเร็วLily Copenagle และ Jamie Kennel สามีภรรยาตกลงร่วมกันว่าจะสร้างบ้านขนาดเล็กสำหรับอยู่อาศัย ด้วยเหตุผลที่ว่า อยากสร้างบ้านที่สามารถประหยัดงบประมาณ ราคาไม่แพง และที่สำคัญต้องง่ายต่อการทำความสะอาด และการดูแลรักษา พวกเขาตั้งใจให้บ้านหลังนี้ เป็นบ้านแห่งการพักผ่อน ได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างเต็มที่ อ่านหนังสือด้วยกัน ทำอาหารด้วยกัน และมีความสุขไปด้วยกันกับสุนัขเพื่อนยากอีก 2 ตัว บ้านขนาด 63 ตารางเมตร

บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น

รูปทรงบ้านมีความทันสมัย หลังคาหมาแหงน ตัวบ้านสีเทา ติดผนังประตูกระจกด้านหน้า เพิ่มความปลอดโปร่ง ประเมินงบสร้างไว้คร่าวๆ ที่ 6-7 แสนบาทภายในบ้านเป็นห้องกว้าง ๆ ไม่มีการแบ่งเป็นห้อง ใช้เพียงผ้าม่านในการกั้นห้องนอน หรือชั้นวางหนังสือในการแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนเท่านั้น สีขาวสะอาดของผนังและเพดาน พื้นไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้และต้นไม้สีเขียวในกระถาง ทำให้ใกล้ชิดความเป็นธรรมชาติมากขึ้น

แสงสว่างจากภายนอก สามารถสร้างความผ่อนคลายให้กับภายในได้เป็นอย่างดี แม้พื้นที่ในบ้านจะมีไม่มาก แต่พื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังบ้าน มีอย่างกว้างขวาง สามารถไว้ทำกิจกรรมต่าง ๆ และเพื่อให้เจ้าสุนัข 2 ตัวได้วิ่งเล่นอย่างเพลิดเพลินในทุก ๆ วันลักษณะหลังคาเพิงหมาแหงน ทำให้เพดานความสูงต่ำภายในบ้านไม่เท่ากัน แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการสร้างบรรยากาศที่สะดวกสบายแต่อย่างใด

เพราะแม้พื้นที่ด้านในสุดของบ้านจะมีระดับความสูงที่ต่ำกว่าด้านหน้า แต่ด้วยการใช้ประตูกระจกทั้งแผง ทำให้แสงสว่างเข้าถึงทุกพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ ไม่มีจุดอับเกิดขึ้นปลูกต้นไม้ในถังใบใหญ่ วางเรียงกัน เพื่อพรางสายตาและเพิ่มพื้นที่ความเป็นส่วนตัวในยามพักผ่อน แต่ขณะเดียวกัน เจ้าของบ้านที่อยู่ภายในจะรู้สึกสดชื่น สบายตา เพื่อเมื่อมองออกมาจะเห็นใบไม้สีเขียวอยู่เสมอ

บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น

7 ขั้นตอนสำคัญ สร้างบ้านให้สำเร็จ

1. เตรียมความพร้อมก่อนสร้างบ้าน

ก่อนเริ่มสร้างบ้าน ขั้นตอนสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำก่อนคือ การเตรียมพร้อมก่อนสร้าง ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

• เตรียมพื้นที่ก่อสร้าง ทั้งการตรวจสอบระดับดิน การถมดินกรณีที่ที่ดินแปลงนั้นอยู่ในระดับต่ำเกินไป หรือมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ หน้าดินไม่เสมอกัน รวมถึงการตรวจสอบความแข็งของดิน เพื่อให้เหมาะกับการสร้างบ้าน ไม่เกิดปัญหาการทรุดภายหลัง

• การขนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการก่อสร้าง โดยต้องมีพื้นที่รองรับ และเส้นทางให้รถเข้าออกได้สะดวก

• การวางแผนสถานที่พักคนงาน เพราะการสร้างบ้านต้องใช้ระยะเวลายาวนาน กรณีที่คนงานไม่ได้มีที่พักอาศัยใกล้พื้นที่ก่อสร้างก็ต้องมีสถานที่พักอาศัยชั่วคราวของคนงาน เพื่อความสะดวกและเป็นสัดส่วน

• เตรียมพร้อมด้านการขอน้ำ และไฟฟ้าชั่วคราว เพื่อรองรับงานก่อสร้าง และการพักอาศัยชั่วคราวของคนงาน ทำให้งานสร้างดำเนินได้อย่างไม่สะดุด

• วางผังอาคารสิ่งปลูกสร้าง ตำแหน่งลงเสาเข็ม และระยะร่นตามเทศบัญญัติ โดยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญก่อนลงหลักปักฐานสร้างบ้าน นอกจากนี้หากที่ดินที่สร้างมีต้นไม้ใหญ่และต้องการเก็บไว้ ก็ต้องคำนึงถึงการปรับตำแหน่งเพื่อหลีกเลี่ยงแนวต้นไม้ด้วยสร้างบ้าน

2. การเตรียมงานด้านขุดเจาะเสาเข็ม

การดำเนินการขุดเจาะเสาเข็มนั้นต้องเป็นไปตามผังตำแหน่งที่วางไว้ ในขั้นตอนนี้ทีมงานเก็บข้อมูลทางวิศวกรรมจะดูกำลังรับน้ำหนักเสาเข็มตอก หรือความลึกของเสาเข็มเจาะ ทั้งนี้เสาเข็มตอกทุกต้นจะต้องมีผู้ควบคุมและตรวจสอบความแข็งแรงให้ตรงตามหลักวิศวกร เพื่อให้งานสร้างมีมาตรฐาน

3. ขั้นตอนงานฐานรากและโครงสร้าง

3.1 การวางฐานราก ต้องมีการเตรียมพร้อมส่วนต่างๆ คือ

• การขุดหลุมตามขนาดที่กำหนด และตัดหัวเสาเข็มเพื่อเตรียมงานฐานราก

• ทำการตั้งไม้แบบและค้ำยัน

• เตรียมส่วนของหนุนลูกปูน

• ทำการผูกเหล็กเสริมส่วนฐานราก และตอม่อ

• ดำเนินการเทคอนกรีต

3.2 งานขึ้นโครงสร้างตัวบ้านและงานสุขาภิบาล

• ดำเนินการขึ้นงานโครงสร้างส่วนของชั้น 1 ตามแบบและให้มีมาตรฐาน พร้อมขุดดินเพื่อเตรียมส่วนของระบบสุขาภิบาล

• ดำเนินการขึ้นโครงสร้างชั้น 2 และโครงสร้างหลังคา โดยตัดทำเหล็กโครงสร้างหลังคา พร้อมทาสีกันสนิม จากนั้นจึงขึ้นโครงสร้างงานระบบสุขาภิบาล

4. ขั้นตอนการสร้างบันได การหล่อชิ้นส่วนต่างๆ และการมุงหลังคา

ขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนเติมเต็มด้านโครงสร้างบ้าน เพื่อให้เป็นโครงบ้านที่สมบูรณ์ พร้อมสำหรับการทำในขั้นตอนต่อไป โดนการทำโครงสร้างบันได จะต้องดูทั้งความสูง ความชันของตัวบันได บวกกับจำนวนขั้นบันไดที่ต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการสร้างที่ทำให้การเดินขึ้นลงสะดวก ปลอดภัย

ส่วนการหล่อชิ้นส่วนต่างๆ เช่น บัว กันสาด ขอบปูน ตลอดจนการมุงหลังคาบ้านเป็นขั้นตอนที่นอกจากจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการสร้างแล้ว การเลือกใช้วัสดุที่มีมาตรฐาน และเหมาะกับงานแต่ละส่วนก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะงานหลังคาที่ต้องมุงให้ถูกตามขั้นตอนเพื่อป้องกันการรั่วซึมในภายหลังสร้างบ้าน

5. งานก่อผนัง ติดตั้งวงกบไม้ และเตรียมงานระบบไฟฟ้า-ประปา

สำหรับการดำเนินการในขั้นตอนนี้ ต้องทำอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐาน เช่น

อิฐและคอนกรีตที่ใช้ก่อต้องทำให้ชื้นก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้อิฐดูดน้ำจากปูนก่อเร็วเกินไป

ต้องก่ออิฐสลับแนวให้ถูกต้องตามหลักการก่อสร้าง

• ก่อให้ได้แนวดิ่งและแนวฉากที่ถูกต้อง

• การก่อชนผนัง เสา ผนัง หรือแผงคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องเสียบเหล็กยื่นออกมาไม่น้อยกว่า 25 ซม. และฝังอยู่ในเสาเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก 10 ซม.

• หากผนังมีความยาว หรือสูงกว่า 3 ม. ต้องมีเสาเอ็น หรือทับหลังคอนกรีตเสริมเหล็ก

• หากต้องการซ่อนในส่วนของสายไฟหรือท่อ ให้ดำเนินการวางท่อของระบบทั้ง ไฟฟ้า ประปา เครื่องปรับอากาศ และระบบสื่อสารต่างๆ ในขั้นตอนของงานผนังไปด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากภายหลัง

6. ขั้นตอนการฉาบผนังและติดตั้งฝ้าเพดาน

ก่อนดำเนินการฉาบปูน ควรต้องทำการกำหนดความสูงของฝ้าเพดานก่อน ทั้งฝ้าเพดานส่วนของภายใน ภายนอก และฝ้าชายคา จากนั้นจึงดพเนินการฉาบปูนตามมาตรฐานและขั้นตอน แล้วจึงทำการติดตั้งฝ้าเพดาน

ส่วนของการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โคมไฟ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับฝ้าเพดาน และถ้าอุปกรณ์นั้นมีน้ำหนักมาก ควรมีการ

เสริมโครงคร่าวฝ้าเพดาน หรือทำการยึดแขวนกับโครงสร้างหลักของบ้าน เพื่อความแข็งแรง และความปลอดภัย รวมถึงการติดตั้งช่องเซอร์วิสเพื่อใช้เป็นช่องเปิดสำหรับอะนวยความสะดวกเวลาต้องเข้าไปตรวจสอบ และบำรุงรักษางานระบบต่างๆ เช่น สายเคเบิ้ล สายไฟ ท่อน้ำ โดยติดตั้งไว้บริเวณที่ไม่เป็นจุดสังเกตมาก เช่น ห้องครัว หรือห้องน้ำ

7. ขั้นตอนติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งพื้น ผนัง และการทาสี

ถือเป็นขั้นตอนท้ายๆ ของงานสร้างบ้าน ซึ่งเป็นทั้งการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ คือ ประตู หน้าต่าง สวิตซ์ ปลั๊กไฟ งานปูพื้น ปูกระเบื้อง และทาสี ซึ่งหากงานในขั้นตอนนี้เสร็จสิ้น บ้านทั้งหลังก็สามารถทำความสะอาดและนำเฟอร์นิเจอร์สำคัญๆ เข้ามาได้

การสร้างบ้านตามขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ จะช่วยให้บ้านหลังนั้นมีความแข็งแรง ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักการก่อสร้าง โดยหากเลือกใช้บริการจากบริษัทรับสร้างบ้านที่มีความเป็นมืออาชีพ ก็จะยิ่งมั่นใจได้ว่า บ้านที่ได้นั้นมีมาตรฐานอย่างแน่นอน