บ้านหลังคาเมทัลชีท เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับทั้งงานภายใน และภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีท คือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป

อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคา สามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้าน จึงจำเป็นต้องกำหนดสเปคให้เหมาะสม แต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งาน ที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย

บ้านหลังคาเมทัลชีท

เลือก​เมทัลชีทให้เป็น เพื่อบ้านที่เย็นสบาย

บ้านหลังคาเมทัลชีท

1.ความหนาของเมทัลชีท มีผลกับคุณภาพ
แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่มี ขายในประเทศไทย จะมีความหนาประมาณ 0.28 – 0.5 mm โดยประมาณ ซึ่งความหนาจะมีผลกับความคงทนแข็งแรง ยิ่งหนา ยิ่งดี สามารถป้องกันการบุบยุบตัวได้มากกว่าแผ่นบาง และป้องกันเสียงจากฝนตกจะเสียงทุ้มกว่าแผ่นบางครับ โดยความหนาที่แนะนำ สำหรับหลังคาหลักของบ้าน ควรหนาประมาณ 0.35 mm ขึ้นไป แต่หากเป็นสเปคที่ สถาปนิกนิยมเลือกใช้ร่วม กับบ้านที่เน้นการออกแบบเป็นพิเศษ จะเลือกความหนาที่ 0.47 mm ขึ้นไปครับ

ส่วนจุดอื่น ๆ เช่น หลังคาซักล้าง หลังคาครัวไทย หลังคาโรงจอดรถ เป็นส่วนที่ไม่มีผลกระทบกับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากนัก อาจเลือกรุ่นที่มีความหนา 0.3 mm ขึ้นไปเพื่อการลดต้นทุนได้ครับ ทั้งนี้ ความหนาของเมทัลชีทจะมีผลกับระยะแปหลังคา ยิ่งหนามากจะสามารถจัดวาง แปในระยะห่างที่มากขึ้นได้ ช่างจึงควรตรวจเช็คความหนา ของแผ่นเมทัลชีทให้มีความสัมพันธ์ กับระยะแปหลังคา

2.เมทัลชีทเคลือบสี ช่วยให้บ้านเย็น ลดเสียงรบกวน
แผ่นเมทัลชีทที่ยังไม่ผ่าน การเคลือบสีจะมีราคาถูกกว่า เหมาะกับการใช้งานอเนกประสงค์ อาทิ รั้วกั้นพื้นที่, หลังคาส่วนต่อเติม แต่หากนำมาใช้ร่วมกับหลังคาหลักของบ้าน แนะนำให้ควรเลือกชนิดที่ผ่าน การเคลือบสีแล้ว เพราะสีที่เคลือบไม่ได้ช่วยแค่ เรื่องความสวยงามแต่ยังช่วยกันความร้อนได้ดี

โดยนวัตกรรมสียุคปัจจุบันมี คุณสมบัติสะท้อนความร้อน ส่งผลให้ปริมาณความร้อน ที่ทะลุผ่านหลังคาเมทัลชีทลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งหากแผ่นเมทัลชีท ผ่านการเคลือบสีที่หนา จะช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้

3.ฉนวนกันความร้อน เพื่อนแท้ของเมทัลชีท
ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เมทัลชีท คือ การติดตั้งเมทัลชีท โดยมีฉนวนกันความร้อน เพราะจะช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้ เลือกทั้งแบบสำเร็จรูปติดตั้งมาให้ พร้อมกับแผ่นเมทัลชีท, แบบพ่นโฟม PU, แบบแผ่นวางใต้ฝ้าเพดาน หรือจะเลือกทำหลายอย่างพร้อมกัน ก็สามารถทำได้ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่เพียงแค่ช่วยให้ การอยู่อาศัยเย็นสบายขึ้น แต่ตัวฉนวนยังทำหน้าที่ ป้องกันเสียงรบกวนได้ดีอีกด้วย ลดทั้งความร้อน ลดทั้งเสียงรบกวน คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

4.หลังคาสูงโปร่ง มีฝ้าเพดาน
ตามหลักการถ่ายเทความร้อน มวลความร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงเสมอ หลักการนี้สถาปนิกนำมา ใช้ร่วมกับการออกแบบบ้าน หากบ้านของเรามีพื้นที่ โถงหลังคามากก็จะช่วยกันความร้อนได้มาก โดยออกแบบให้ภายใน บ้านมีฝ้าเพดาน เพื่อให้ใต้หลังคามีพื้นที่ระบายอากาศ ฝ้าหลังคาจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันร้อน และกันเสียงได้อีกชั้น หากให้ดียิ่งขึ้นควรมีช่องระบายอากาศเพื่อส่งความร้อน ที่สะสมบนฝ้าถ่ายเทออกนอกบ้าน ป้องกันการนำความร้อน เข้าสู่ภายในบ้าน

การนำ บ้านเมทัลชีท มาใช้งานร่วมกับบ้าน ส่วนใหญ่จะคุ้นตากันใน ลักษณะหลังคาแบน หลังคาเพิงหมาแหงน แต่ในความเป็นจริงแล้วเมทัลชีทสามารถใช้งาน ร่วมกับรูปทรงหลังคาได้ทุกประเภท ทั้งจั่ว ปั้นหยา หลังคาโค้ง และอื่น ๆ ตามจินตนาการของผู้ออกแบบ ยิ่งออกแบบให้มีหลังคาสูงโปร่ง จะช่วยให้การระบายอากาศทำได้ดียิ่งขึ้น

5.เลือกเมทัลชีทแบรนด์ที่สถาปนิก วิศวกรแนะนำ
ปัจจุบันเมทัลชีทมีให้ เลือกมากมาย หลายแหล่งผลิต หลายเกรดวัสดุ แต่ละรุ่นมีกระบวนการผลิต มีการเคลือบสีที่แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์อันดับ 1 ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มสถาปนิกและวิศวกร คือ BlueScope แบรนด์ระดับโลกจากประเทศออสเตรเลีย ได้ก่อตั้งในประเทศไทยมากว่า 30 ปีแล้วครับ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นรายแรก ๆ ที่ได้นำวัสดุเมทัลชีทเข้ามาให้คนไทยได้ใช้งาน และเป็นรายแรกที่ได้รับมาตรฐาน มอก. รุ่นที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ คือ BlueScope Zacs ที่ถือเป็นเมทัลชีทที่มีคุณภาพดี พร้อมทั้งการรับประกันยาวนานถึง 12 ปี

แบบบ้านหลังคาเมทัลชีท กับบรรยากาศที่แสนอบอุ่นเพื่อคนทุกวัย

บ้านหลังคาเมทัลชีท

การเลือกใช้วัสดุอย่างเข้าใจ มีส่วนสำคัญในการช่วยคุมบรรยากาศ ของบ้านให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ผู้อ่านหลายท่านที่กำลังเล็ง หลังคาเมทัลชีท เอาไว้ อาจยังมีความกังวลว่าวัสดุสมัยใหม่ ที่เป็นเหล็กโลหะน้ัน จะทำให้ภาพรวมของบ้านดูแข็งกระด้างเกินไปไหม ซึ่งหากมีการสอดแทรกวัสดุอื่น ๆ มาตกแต่งควบคู่ เพื่อเพิ่มอารมณ์ของ ความผ่อนคลายเข้าไป เมทัลชีทที่ว่าแข็งก็จะดูอ่อนโยนลง และเส้นสายแบบราบเรียบจะช่วย เสริมเสน่ห์ให้บ้านน่ามองยิ่งกว่าเดิม

จากภายนอกจะเห็นสไตล์ของบ้านที่แตกต่างกันถึง 2 สไตล์ หน้าบ้านยังคงเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์วิคตอเรียนเอาไว้อย่างสมบูรณ์ ส่วนหลังบ้านที่ได้ทำการปรับปรุงใหม่ได้เสริมความโมเดิร์นเข้าไปอย่างลงตัว บ้านหลังนี้จะมีอารมณ์ที่หลากหลาย ไม่จำเจ แถมยังสอดรับกับตัวตนของผู้อยู่อาศัย ที่มีทั้งเด็กเล็ก วัยกลางคนและผู้สูงอายุ

ชมการออกแบบด้านหลังกัน ก่อนเข้าไปสู่พื้นที่ภายในบ้าน เจ้าของบ้านต้องการให้พื้นที่ ที่ขยับขยายออกมาใหม่มีความสัมพันธ์กันกับ สวนสีเขียวหลังบ้านมากที่สุด ผนังจึงเน้นความปลอดโปร่ง สามารถเปิดกว้างได้ตามต้องการ ทั้งยังมีชานระเบียงที่ออกมานั่งเล่น นั่งทานอาหารได้อย่างสะดวก

แบบบ้านหลังคาเมทัลชีท กับบรรยากาศที่แสนอบอุ่นเพื่อคนทุกวัย

หลังคาบ้านมุงด้วยแผ่นเมทัลชีทสีเทาเข้ม ตัดกับกรอบประตู หน้าต่างไม้สีน้ำตาลอ่อนนุ่ม และเมื่อทาสีขาวลงไปบนผนัง ทุกวัสดุจึงเสริมสร้างมิติ ให้บ้านอย่างพร้อมเพรียงกัน พื้นที่ภายในบ้านจัดผังแบบ Open Plan แม้จะทำกิจกรรมกันอยู่คนละมุม ก็ยังมองเห็นกันได้แบบถนัดตา ซึ่งเหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กวัยซน คุณพ่อคุณแม่สามารถ ดูลูกเล่นซนไปได้พร้อมกับการพักผ่อน เพิ่มประโยชน์ให้แก่ทุกตารางเมตร มุมนั่งเล่นติดผนังกระจก บิลท์อินเป็นม้านั่งตัวยาว ใช้นั่งอ่านหนังสือได้อย่างเพลิดเพลิน แถมยังเป็นช่องทางขนาดใหญ่ ของแสงธรรมชาติอีกด้วย บ้านจัดสรร

พื้นโซนด้านหลังกับพื้นโซนด้านหน้ามีระดับที่ต่างกัน อาจเป็นเพราะเจ้าของบ้านต้องการ ปรับเปลี่ยนอารมณ์ของแต่ละโซน อีกทั้งพื้นที่ไม่ราบเรียบไปทั้งหลัง ทำให้รู้สึกถึงความลื่นไหลในการใช้งาน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการปูด้วยไม้ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีความอบอุ่นกระจายไปทั่วทั้งบริเวณ

ครัวในบ้านพร้อมไอซ์แลนด์ เตรียมอาหารขนาดใหญ่

ครัวในบ้านพร้อมไอซ์แลนด์ เตรียมอาหารขนาดใหญ่ เอื้อเป็นอย่างมากกับ การทำอาหารทานเอง เน้นความโล่งกว้างและเป็นระเบียบเรียบร้อย มีลิ้นชักไว้เก็บอุปกรณ์เครื่องครัว ช่วยปกปิดความรกได้ด้วยดี ส่วนห้องนอนที่อยู่ชั้นสอง เพิ่มลูกเล่นให้กับห้องด้วยผนังกระจกใส ที่มีการจัดขอบแบบทแยงมุม เส้นสายที่แหวกแนวกับ หน้าต่างบานเลื่อนทำให้ห้องที่ตกแต่งน้อย ๆ มีความโดดเด่นขึ้นในทันที

บ้านที่มีการปรับปรุงใหม่ในบางส่วน และเก็บความดั้งเดิมเอาไว้ในบางส่วน ด้วยสไตล์ที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีบางอย่างที่สัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้บ้านมีอารมณ์ที่ลื่นไหล ไม่ขัดแย้งกันจนเกินไป ซึ่งบางอย่างที่ว่า อาจเป็นโทนสีเดียวกัน ใช้วัสดุเดียวกัน อย่างเช่น บ้านหลังนี้แม้ด้านหน้ากับ ด้านหลังจะตกแต่งคนละสไตล์ ก็รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ด้วยงานไม้ สีน้ำตาลและผนังสีขาว เป็นต้น