บ้านสไตล์มินิมอล ลอฟท์

บ้านสไตล์มินิมอล ลอฟท์ บ้านวิถีเซน เรียบง่ายแต่อุ่นใจ บ้านสไตล์มินิมอลในญี่ปุ่น หากคุณต้องการมุมที่จะได้ปลดปล่อยตัวองให้ผ่อนคลายอารมณ์สักหน่อย ควรจะไปที่ไหนดี ทะเล ภูเขา หรือน้ำตก เป็นเรื่องจริงที่ว่าเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือเครียดการได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจะทำให้สิ่งที่แบกมาทั้งวันทั้งเดือนเหมือนถูกได้ปลดปล่อย

แต่จะดีกว่าไหมถ้าเรามีพื้นที่ส่วนที่ไม่ว่าจะก้าวไปจุดไหนก็เต็มไปด้วยความร่ำรวยของต้นไม้ใบหญ้า มองเห็นท้องฟ้าสีคราม สัมผัสถึงความสบายใน “บ้าน” แบบที่ไม่ต้องไปหาที่ไหน เหมือนเช่นที่บ้านหลังนี้สร้างมาเพื่อบรรยากาศที่จะชวนให้อยากอยู่ตลอดชีวิต

บ้านมินิมอลที่เรียบง่ายและอยู่สบาย

บ้านสองชั้นที่ดูเรียบๆด้วยรูปทรงและวัสดุสไตล์มินิมอลหลังนี้สร้างอยู่แถบชานเมืองในญี่ปุ่น ที่มองเห็นทัศนียภาพของท้องฟ้าได้กว้างไกลและอยู่ใกล้ทะเล  สถาปนิกอาคิโตะ มาชิ จึงตั้งใจใส่หน้าต่างช่องขนาดใหญ่รอบ ๆ อาคาร เพื่อดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน รูปทรงบ้านสูงเหมือนป้อมปราการญี่ปุ่นโบราณแต่ลดทอนรายละเอียดลง ภายนอกที่มีผนังคอนกรีต ไม้ และกระจกเรียงตัวยาว  ภายในที่เต็มไปด้วยพื้นที่เปิดโล่งล้อมรอบพื้นที่นั่งเล่นด้วยโถงสูงทำให้บ้านสว่างและโปร่งสบาย รวมกันเป็นบ้านที่เรียบง่ายในญี่ปุ่นแห่งนี้ที่ก่อให้เกิดความสมดุลที่ไม่คาดคิด

ผนังกระจกที่ดึงธรรมชาติเข้ามาชิดใกล้จากพื้นดินมาที่ประตูกระจกทางเข้าบ้าน จะเป็นเหมือนผนัง 2 ชั้น มีทางเดินที่ปูแผ่นคอนกรีตสีเทาทำมือที่สีไม่เหมือนกันแม้แต่แผ่นเดียว เมื่อขึ้นไปที่โถงทางเดินเราจะรู้สึกเหมือนอยู่ห่างจากพื้นดิน แต่ยังชิดใกล้กับใบไม้และต้นไม้ที่ปลูกอยู่ติดกับผนังกระจก ทำให้ผู้ที่อยู่ภายในเพลิดเพลินไปกับการมีสีเขียวเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน

เมื่อเปิดประตูออกจะได้รับความสดชื่นจากวิวนาข้าวพร้อมกับลม ที่พาดผ่านลำธาร พัดดอกซากุระที่ ปลิดปลิวอย่างสวยงาม ภายนอกถัดจากทาง เดินเป็นประตูบานเลื่อนทึบแสงแยกห้องออก จากระเบียงทางเดิน บานประตู โชจิปรับจากภูมิ ปัญญาญี่ปุ่นโบราณ ที่กรุประตูด้วยกระดาษบาง ๆ ปล่อยให้แสงเข้ามาได้บ้าง เมื่อเปิดออกจากเห็นพื้นที่ห้องครัว มุมทานข้าว ห้องนั่งเล่นที่อยู่ลึกลงไปปูพื้นไม้พร้อมเพดานไม้ที่เป็นโถงสูง

ซึ่งทำให้พื้นที่อยู่อาศัยรู้สึกเหมือนอยู่ใน หลุมขนาดยักษ์ที่มีบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองแม้จะเปิดโล่งก็ตามDouble Space หรือพื้นที่ต่อเชื่อมในแนวตั้งเป็นโถงสูงใจสองชั้นใจกลางบ้าน ทำให้บ้านดูโปร่งสบาย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงและระบายออกทางช่องเปิดที่เจาะรับอยู่บนผนังได้ดี

ทำให้บ้านมีความร้อนสะสมน้อย พื้นที่เหลือรอบ ๆ โถงยังทำเป็นชั้นลอยที่สามารถเชื่อมต่อมิติของพื้นที่และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในบ้านได้ด้วยจากจุดนี้หรือจุดไหนๆ ของบ้านจะสามารถซึมซับความสวยงามที่น่าทึ่งในทุกช่วงเวลาระหว่างกิจกรรมประจำวัน ซึ่งเป็นบทบาทของสถาปัตยกรรมในมุมมองที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้าม

ภายในง่าย ๆ เอื้อให้ใช้ชีวิตง่าย ๆ ในแต่ละฟังก์ชันการใช้งานเน้นตกแต่งน้อย ๆ ในสไตล์มินิมอลที่ใส่เฉพาะของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้ประสิทธิภาพของบ้านยังคงอยู่และไม่ส่วนเกินสำหรับการใช้ชีวิต การเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งานแต่ละส่วนใช้โถงทางเดินโล่ง ๆ แบบไม่มีบานประตูปิด ไม่ว่าจะเดินไปเส้นทางไหนก็ทำได้ง่าย ๆ แบบไม่มีอะไรมาขวางกั้น

สีขาวและงานไม้โอบบ้านให้อบอุ่น

บ้านสองชั้น โซนริมสุดของบ้านบริเวณระเบียงทางเดินมีบันไดไม้ที่นำไปสู่ชั้นสองซึ่งมีห้องนอนและชั้นลอยสไตล์ลอฟท์ที่มองไปยังส่วนอื่น ๆ ของบ้านได้ชัดเจน วิธีการจัดเรียงการใช้งานแยกส่วนออกมาแบบนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องให้บันไดอยู่ข้างในรบกวนการใช้งานในบ้าน

เมื่อขึ้นมาสู่ชั้นบน ยังคงคอนเซ็ปการ ใช้สีขาวสะอาดตา เป็นสีหลัก บวกกับงานไม้ ลายสวยสีอ่อน ๆ ทำให้บ้านเต็มไปด้วยความเป็นธรรมชาติที่อบอุ่น ระหว่างพื้นที่ห้องที่ไม่ต้องการความเป็นส่วนตัวเชื่อมต่อ ด้วยโถงทางเดินไร้ประตูเช่นกัน จึงทำให้การสัญจรและการติดต่อสื่อสารง่ายและสะดวกแบบไม่มีอุปสรรคการตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลในญี่ปุ่น จุดเด่นที่สำคัญคือการเลือกวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ แผ่นหิน เป็นต้น

ในบ้านหลังนี้นอกจากงานไม้ที่ พบได้ทั้งพื้น เพดาน และ เฟอร์นิเจอร์แล้วยัง มีแผ่นคอนกรีตขัด มันที่ผ่านกระบวนการทำมือ ทำให้แต่ละแผ่นได้โทนสี และ ลวดลายที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสเน่ห์ ของงานช่างที่ ไม่ได้ผ่านโรงงาน ภายในเน้นเปิดช่องแสงใส่ช่องว่าง เพื่อรับแสงและวิว ภายนอกเข้ามาในจังหวะ ที่เหมาะสม เน้นความโปร่งโล่งและชิดใกล้กับภูมิทัศน์นอกบ้าน เป็นความน้อยทั้งภายนอกภาย ในแต่ให้ความ อิ่มเอิบใจเต็มพิกัด

ลอฟท์ (Loft) เป็นชื่อของสไตล์การตกแต่งภายในสมัยใหม่ บ้านสองชั้น ที่หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี และชวนให้นึกถึงการตกแต่งสไตล์ดิบ ๆ ผนังปูนเปลือย การจัดวางพื้นที่อย่างอิสระ ไม่มีข้อกำหนด ไม่ต้องมีพิธีรีตอง เพราะทุกอย่างเปรียบเสมือนงานศิลปะ! ว่าแต่สไตล์การตกแต่งแบบลอฟท์มีที่มาที่ไปอย่างไร

แล้วทำไมร้านคาเฟ่ต่าง ๆ รวมถึงบ้านสไตล์ลอฟท์ถึงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้จะพาย้อนไปทำความรู้จักกับจุดกำเนิดของสไตล์ลอฟท์ และจุดประกายไอเดียการตกแต่งบ้านสไตล์ลอฟท์ให้ออกมาชัดเจน และเป็นตัวคุณเองมากที่สุด

ต้นกำเนิดของสไตล์ลอฟท์เกิดขึ้นในยุค 40s ที่ย่านการผลิตในแมนฮัตตัน นิวยอร์ก ในยุคนั้นราคาที่ดินในย่านใจกลางเมืองนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นการบีบบังคับผู้ประกอบกลาย ๆ ที่ต้องย้ายฐานการผลิตออกไปยังชานเมืองเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้เกิดอาคารโรงงานว่างเปล่าถูกทิ้งร้างมากมาย

จนมีกลุ่มคนทำเป็นที่พักอาศัย โดยลอฟท์เมื่อก่อน จะเป็นที่อยู่ใต้หลังคาของโรงงาน เวลาต่อมาในยุค 50s ศิลปิน และนักดนตรี ต้องการสถานที่สำหรับโชว์ผลงานชิ้นเอกของพวกเขา การจะไปเช่าสตูดิโอก็มีราคาสูง และบางย่านในนิวยอร์กก็อันตราย จนพวกเขามาเจอพื้นที่เปิดโล่งอย่างโรงงานร้างที่แมนฮัตตันขึ้น ซึ่งสามารถดัดแปลงมาเป็นสถานที่แสดงผลงานทางศิลปะได้ และด้วยความกว้างขวางของโรงงาน พวกเขายังสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ด้วย

เรียกได้ว่ากลุ่มศิลปิน นักดนตรี คือผู้บุกเบิกลอฟท์ โดยแท้จริง พวกเขาทำให้ย่านโรงงาน ร้างกลายเป็นย่านศิลปะ และทำให้ผู้คนเห็นคุณค่าของ พื้นที่แห่งนี้ต่อมา สหรัฐอเมริกาเผชิญ กับ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ผู้คนต่างมาสนใจทำลอฟท์ให้เป็นอพาร์ทเม้นท์ ที่อยู่อาศัยกันอย่างจริงจัง เนื่องจากมี โลเคชั่นใจกลางเมือง ราคาไม่แรง และเกิดการพัฒนาให้มี ความหรูหรามีสไตล์ที่ เป็นเอกลักษณ์มาก ขึ้นจนถึงปัจจุบัน

ข้อดีของ บ้านสไตล์ลอฟท์

ดีไซน์เป็นเอกลักษณ์

ด้วยดีไซน์ ที่แปลกตา เรียบง่าย แบบสวยดิบ หยาบ แต่ดูดีเน้นโชว์โครงสร้างและผิวของวัสดุ ให้อารมณ์ และความรู้สึกเป็นธรรมชาติ เป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์ในแง่ของการดีไซน์ที่แปลกตา เพราะได้แรงบันดาลใจจากโกดัง หรือโรงงานแบบตะวันตก โดยเพดานจะอยู่สูงกว่าบ้านแบบอื่น ๆ อย่างผนังปูนเปลือยหรือผนังอิฐบล็อกดิบ ๆ ไร้สีสันแต่งแต้ม

บรรยากาศโปร่งโล่ง

พอจะทราบอยู่แล้วว่าจุดเด่น บ้านสไตล์ลอฟท์ อยู่ที่ความสูงของหลังคา ดูโปร่ง โล่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้บ้านดูโล่ง และกว้างเท่านั้นนะ แต่ยังทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกอีกด้วย อีกส่วนหนึ่งที่เป็นจุดเด่นก็คือหน้าต่างบ้านที่เน้นหน้าต่างขนาดกว้าง และยาว เพื่อให้บ้านดูสว่าง ซึ่งนอกจากดึงแสงธรรมชาติเข้ามาได้แล้ว ยังช่วยประหยัดค่าไฟได้ด้วยล่ะ

จัดสรรพื้นที่ได้ง่าย

ต้องบอกก่อนเลยว่าแปลน บ้านสไตล์ลอฟท์ หลายแบบไม่ค่อยเน้นกั้นกำแพงภายในบ้านกันสักเท่าไร และจะตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่น้อยชิ้น ทำให้พื้นที่ในบ้านค่อนข้างโล่ง นี่แหละจึงเป็นข้อดีที่เราสามารถดีไซน์การตกแต่งบ้านได้ตามใจชอบ จะปรับเปลี่ยนการตกแต่งบ้านให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์เราตอนไหนก็ได้ สะดวกสบายสุด ๆ

ประหยัดเวลาในการสร้างและตกแต่ง

ดิบ ๆ เท่ ๆ จนแทบไม่ต้องตกแต่งอะไรให้มากมาย อวดผิวเปลือย ๆ ของปูนหรืออิฐก็ยังได้ ช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการตกแต่ง บอกได้เลยว่า… นอกจาก บ้านสไตล์ลอฟท์ จะช่วยประหยัดเวลาได้แล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายใน จ้างผู้รับเหมาต่อเติมบ้าน ได้เช่นกัน

ตกแต่งผนังห้องเดิม ๆ ให้เก๋ไก๋สไตล์ลอฟท์

มาเปลี่ยนผนังบ้านธรรมดาให้มีเสน่ห์ เรียบเท่สไตล์ลอฟท์กันค่ะ ใครอยากได้มุมบ้านที่ดูโมเดิร์น เรียบง่าย บรรยากาศสไตล์ลอฟท์ มาทางนี้เลย ! “ผนังตกแต่ง เฌอร่าบอร์ด”  ทางเลือกใหม่ของผนังไม้ฝาที่โดดเด่น เพิ่มลูกเล่นให้ผนังบ้านคุณมีมิติ ด้วยการใช้ผนังตกแต่ง เฌอร่าบอร์ด มาตัดครึ่งแผ่น ขนาด 120 x 120 ซม. คว้านหัวสกรู 4 มุม และทาสีผนังได้ตามใจชอบ

ข้อเสียของบ้านสไตล์ลอฟท์

อุณหภูมิ

ควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านได้ยาก เนื่องจากหน้าต่างบานใหญ่และดีไซน์ที่เน้นความโปร่งโล่ง ทำให้แสงแดดเข้าได้จากทุกทิศทุกทาง จึงทำให้ควบคุมอุณหภูมิได้ยากกว่าบ้านทั่วไป ยิ่งเข้าสู่ฤดูร้อน บ้านสไตล์ลอฟท์ จะมีอุณหภูมิที่ร้อนมาก

เสียง

บ้านสไตล์ลอฟท์ ไม่ค่อยมีกำแพงจึงไม่มีตัวช่วยกั้นและดูดซับเสียง เป็นเรื่องยากที่จะควบคุมเสียงที่มาจากห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน จึงทำให้เกิดเสียงดังก้องในบ้านได้ง่ายค่ะ

การดูแลรักษา

การตกแต่งผนังของ บ้านสไตล์ลอฟท์ ที่ทำแบบปูนขัดมัน เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ จะเริ่มหมอง จึงต้องคอยเคลือบผนังด้วยน้ำยาเป็นประจำเพื่อความสวยเงางาม ถ้าเป็นผนังอิฐ จะต้องคอยสังเกตว่ามีรอยแตกร้าวตรงส่วนไหนหรือเปล่า? ซึ่งควรได้รับการซ่อมทันที อย่าปล่อยให้มีรอยร้าวในหลาย ๆ จุด เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้นะคะหากผนังอิฐมีรอยแตก ควรได้การซ่อมทันที เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ รวมถึงเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นหรือที่อาศัยของแมลง ในช่วงหน้าฝน ที่จะทำให้บ้านมีความชื้น และกลายเป็นสภาพเป็นคราบตะไคร่สีเขียว ไม่น่ามองสุด ๆ