บ้านโมเดิร์น

บ้านโมเดิร์น

บ้านโมเดิร์น เคารพบรรยากาศเมืองเทศกาลดอกไม้ไฟหากใครเคยดูการ์ตูนญี่ปุ่น จะคุ้นเคยกับการมีเทศกาลดอกไม้ไฟที่ทุกคนรอคอยในฤดูร้อน ที่ทำให้เมืองมีสีสันสนุกสนาน ในเมืองคาวาโกเอะ ซึ่งเป็นหนึ่งเมืองโบราณของประเทศญี่ปุ่น ที่รู้จักกันในชื่อว่า ลิตเติ้ลเอโดะ (Koedo Kawagoe) 

ก็มีเทศกาลดอกไม้ไฟที่น่าตื่นเต้นไปทั่วทั้งเมือง  ในฤดูใบไม้ร่วงบ้านเรือนต่างประดับโคมไฟจำนวนมากที่หน้าบ้าน ช่างเป็นน่าอัศจรรย์แบบดั้งเดิมที่ทรงคุณค่า ความงดงามและเป็นเอกลักษณ์แบบนี้นี่เอง ที่ทำให้คนที่จะสร้างบ้านใหม่ๆ ในแถบนี้ต้องคิดมากขึ้นกว่าเพิ่ม เพื่อใส่ความเป็นตัวตนแบบใหม่ๆ ลงในบ้าน แต่ยังต้องรักษาบรรยากาศและกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปให้ลงตัว

อย่างที่ทราบว่า คาวาโกเอะ เป็นศูนย์กลางในจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่ว่าเป็นเมืองเอโดะน้อย เพราะมีสถาปัตยกรรมยุคสมัยเอโดะถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี ทำให้สถาปนิกต้องกลับมาตั้งคำถามว่า อะไรคือความลงตัวระหว่างวิถีชีวิตของครอบครัว และความกลมกลืนกับเมืองคาวาโกเอะแบบดั้งเดิม ในท้ายที่สุดโครงการนี้มีคำตอบ เพื่อแสดงเคารพบรรยากาศของเมืองแบบดั้งเดิม และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนแห่งนี้ คลิ๊กที่นี่

บ้านโมเดิร์นประยุกต์ให้ลงตัวกับเมืองเก่า

สถาปนิกจึงทำหลังคาทางเข้าประยุกต์จากแบบอาคารเก่าที่เรียกว่า Machiya (町屋/町家) และคุราซึคุริ (อาคารโกดังเก่า) บนชั้นสองมีฟาซาดไม้ระแนง หรือ  ‘Koshi’  ภายนอกบ้านที่หันไปทางถนนมีสวนเล็ก ๆ และม้านั่งคอนกรีตบนผนังลายไม้ดูเป็นมิตร เพื่อให้ผู้ที่เดินผ่านไปมานั่งเล่นและสนุกสนานร่วมกันในงานเทศกาลได้ ใส่เอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นลงไปได้ลงตัวในท่ามกลางสีดำและวัสดุแบบบ้านโมเดิร์น

บ้านโมเดิร์น

แนวคิดต่อไปในบ้าน คือการรักษาระยะห่างระหว่างครอบครัวเองและชุมชนของคาวาโกเอะ  ด้วยความที่บ้านนี้หน้าแคบลึกยาวเหมือนมาชิยะ จึงพยายามสร้างพื้นที่ไร้รอยต่อโดยไม่มีผนังที่ไม่จำเป็น สถาปนิกยังออกแบบ “Ma” (間)  ซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะสำหรับทำบางสิ่งบางอย่างในภาษาญี่ปุ่น เช่น “Shoku-no-MA” (พื้นที่รับประทานอาหาร) “Tuma-no-Ma” (พื้นที่ส่วนตัวสำหรับภรรยา) และ “Doma (พื้นที่กึ่งสาธารณะที่เป็นดินในสมัยก่อน) ซึ่งจะมีสเปซโล่งกว้าง และประตูที่เปิดปิดเชื่อมต่อกันได้แบบหลวมๆ เพื่อให้สมาชิกในบ้านสัมผัสได้ถึงความอิสระ แต่ก็รับรู้ขอบเขตของพื้นที่ในบ้านหลังนี้

ชั้นล่างจะมี โดมะหรือสเปซโล่งกว้างอเนกประสงค์ด้านหน้า ที่เชื่อมต่อระหว่างนอกบ้านกับในบ้าน ห้องน้ำ และห้องส่วนตัวของคุณสามีที่ด้านหลัง ส่วนชั้นถัดไปจะมีบันไดเหล็กโปร่งๆ นำทางค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไปยังจุดศูนย์รวมของบ้านที่ตกแต่งอย่างเรียบง่ายด้วยเส้นสายเรขาคณิตไม่ซับซ้อนโทนสีขาวตัดเส้นสายตาด้วยเหล้กสีดำบางๆ (แต่แข็งแรง) และมีงานไม้ตามประกบเพื่อสร้างความรู้สึกอ่อนโยน อบอุ่น ในทุกพื้นที่

ในบริเวณใจกลางบ้านไม่มีพื้นเพดานแยกชั้นที่ชัดเจน เพราะสถาปนิกใช้วิธีการเล่นระดับ ทำให้มีส่วนที่ถูกเป็นแท่นมีโถงสูงเหมือนลอยตัวเด่นตรงกลาง เป็นส่วนของห้องครัวและห้องทานข้าว ส่วนด้านหลังเป็นห้องส่วนตัวของคุณภรรยา ด้านหน้าทำเป็นมุมนั่งเล่นที่มีฉากไมระแนงคอยกั้นบังแสงและเพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของผู้คนที่ผ่านไปมา

บ้านนี้ไม่ขาดแสงแม้จะเป็นบ้านหน้าแคบลึกที่มีโอกาสพลาดจากแสงช่วงกลางอาคาร เพราะการออกแบบที่เปิดพื้นที่โล่งมีโถงสูงหลายเมตร ประกอบกับช่องแสงรอบ ๆ บ้านที่เอื้อให้ความสว่างส่องจากด้านบน ด้านข้าง กระจายเข้าสู่ทุกพื้นที่กิจกรรมภายใน บ้านจึงยังคงสว่างแม้ไม่ได้เปิดไฟฟ้าส่องสว่างในช่วงกลางวัน

ส่วนบนสุดชั้นสาม เป็นพื้นที่ของห้องใต้หลังคา ซึ่งถูกยกขึ้นเป็นแท่นโปร่งๆ สามารถมองลงไปเห็นครัวที่อยู่กลางบ้านได้ มองทะลุช่องเปิดที่จัดวางแต่ละตำแหน่งให้มุมมองวิวธรรมชาติและวิวเมืองต่างๆ กัน ส่วนโซนด้านหลังเป็นลานสำหรับพักผ่อน

นอกจากการจัดการภายในเดี่ยวกับฟังก์ชันการใช้งาน สถาปนิกยังโฟกัสไปที่การจัดการพลังงานให้บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีช่องทางรับแสงธรรมชาติและการระบายอากาศตามธรรมชาติจากหน้าต่างสูง บ้านนี้มีแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาสำหรับระบบทำน้ำร้อนและระบบระบายอากาศ ส่งลมอุ่นจากห้องใต้หลังคาไปยัง “โดมะ” ที่ชั้นหนึ่ง บ้านจึงสว่างอบอุ่นในฤดูหนาว และไม่ร้อนเมื่อคลื่นความร้อนมาเยือนบ้านที่สร้างบนเนื้อที่แคบลึก

เหมาะจะจัดแปลนภายในแบบเล่นระดับ (Split Level) เพราะลักษณะของพื้นที่ใช้สอยภายในลดหลั่นกัน การเล่นระดับจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้านที่ค่อนข้างเล็ก เนื่องจากการเทพื้นจะมีการเหลื่อมของพื้นที่เป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วน

โดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบจึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด และใช้บันไดเป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นที่ สร้างพื้นที่ว่างใจกลางอาคารให้แสงและอากาศไหลเวียนภายใน ลดข้อจำกัดของบ้านหน้าแคบได้ดี นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีลูกเล่น เติมมิติของพื้นที่ใช้งาน ดูน่าสนใจกว่าการวางระดับพื้นในระนาบเดียวกัน นอกจากใช้ประโยชน์ได้ดีแล้วยังสนุกสนานมากขึ้น

Mit Chit House ชีวิตแบบมิตรชิด ในบ้านโมเดิร์นเว้นคอร์ท

บ้านโมเดิร์นเว้นคอร์ท

เพราะชีวิตของคนเราไม่ได้มีเพียงด้านเดียว อาจจะมีบางครั้งที่เราต้องการเปิดตัวตนให้เชื่อมต่อกับโลกภายนอกได้ แต่ในบางอารมณ์ก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัวอยู่แบบเงียบ ๆ บ้านจึงต้องตอบโจทย์ความความซับซ้อนให้ออกมาเป็นรูปร่างอย่างสมดุล ทั้งดีไซน์และฟังก์ชัน การจัดวางระดับความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยตรงกับวิถีชีวิตมากที่สุด เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ในย่านสวนผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ที่สถาปนิกพยายามนำเสนอบ้านผ่านความท้าทายในการจัดการพื้นที่ให้มีทั้งการเชื่อมต่อ เข้าถึงธรรมชาติ และการใส่มุมมองจากภายนอกที่เน้นย้ำความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ยังรู้สึกได้ถึงความเป็นมิตร

บ้านโมเดิร์นสีขาวรั้วรอบขอบชิดหลังนี้ มีพื้นที่ใช้สอย 350 ตารางเมตร เป็นส่วนต่อขยายจากบ้านเดิมของครอบครัว ที่ตั้งใจสร้างบ้านหลังใหม่สำหรับลูกสาว 2 คน พร้อมกับเติมเต็มพื้นที่ส่วนกลางให้สมบูรณ์แบบ เพื่อให้ครอบครัวมีพื้นที่กิจกรรมร่วมกันแบบใกล้ชิดขึ้นกว่าเดิม ด้วยบริบทที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรเก่าที่รายล้อมด้วยสวนผลไม้ ให้บรรยากาศเงียบสงบแต่จะเปลี่ยวในช่วงกลางคืน เจ้ของบ้านจึงต้องการความมิดชิดเป็นส่วนตัวเพื่อความปลอดภัย

ประตูบ้านและรั้วบางส่วนจึงเลือกวัสดุเป็นช่องตารางเล็ก ๆ ที่มีความโปร่ง ทำให้ยังคงมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้แบบไม่ถูกตัดขาด คำว่า “มิด-ชิด” นี้ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า “มิตร-ชิด” ซึ่งเป็นคอนเซ็ปหลักสองนัยยะที่ใช้สื่อสารความเป็นตัวบ้านได้ดีทั้งคู่

บ้านโมเดิร์นเว้นคอร์ท

มุมมองจากด้านบนของบ้านจะเห็นสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และวิธีการแบ่งพื้นที่ใช้งานที่ปิด-เปิดโล่งเปิดออกสู่ท้องฟ้าหลายจุด เป็นคอร์ทที่ทำให้บ้านรับบรรยากาศแบบกลางแจ้งเข้าสู่ภายในได้เต็มที่เมื่อเข้ามาสู่พื้นที่ตัวบ้านแล้ว เราจะพบกับ Next Station ของการแก้โจทย์อีกข้อหนึ่ง ซึ่งเจ้าของต้องการการอยู่อาศัยในธรรมชาติ มีพื้นที่สีเขียวที่เปิดพื้นที่ให้เข้าถึงง่ายๆ  และสามารถมองเห็นกันได้หมด การมองภาพให้ออกว่าจะสร้างพื้นที่ใช้สอยอย่างไรให้อยู่กับร่วมกับที่ว่าง สวน  ได้ในภาพรวมจึงค่อนข้างสำคัญ ในจุดนี้ทีมงานเริ่มต้นด้วยการวาง Layout ของบ้านใหม่ ให้มีลักษณะเป็นพื้นที่ใช้งานสลับแทรกด้วยคอร์ทยาร์ด

ตัวอาคารหลักที่ต่อเติมถูกขยับให้อยู่ชิดกับรั้วบ้านฝั่งซ้าย เว้นพื้นที่ฝั่งขวาเปิดเป็นคอร์ทยาร์ดขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ทั้งแยกโซนการใช้งานและเชื่อมบ้านสองหลังเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังคอร์ตยาร์ดเล็ก ๆ ขนาด 3 x 3 เมตร และ 3 x 5 เมตร จำนวน 4 จุด กระจายตัวอยู่ในบ้าน ที่ทำหน้าที่เป็นดึงแสงและธรรมชาติเข้าสู่ตัวบ้าน

คอร์ทยาร์ดขนาดเล็กที่แทรกอยู่ในส่วนต่างๆ ของบ้านห้อมล้อมด้วยผนังกระจกสูงหลายเมตร ดูเหมือนเป็นโชว์รูมที่มีต้นไม้เป็นตัวเอก ผนังกระจกใสรอบทิศทางนอกจากจะทำหน้าที่ดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสวน เพิ่มการระบายอากาศที่ดี  จึงรู้สึกเหมือนบ้านเต็มไปด้วยอิสระ และรายล้อมด้วยต้นไม้จนบางครั้งก็แทบจะแยกไม่ออกว่าบ้านสร้างอยู่ในสวนหรือจัดสวนอยู่ในบ้าน

พื้นที่ธรรมชาติที่ลดความแข็งกระด้างของตัวอาคารลง พร้อม ๆ กับเติมความรู้สึกเป็นมิตรเอาไว้ข้างใน ทีมงานสถาปนิกยังสร้างกรอบการมองเห็นสวนได้จากทุกมุมมองของบ้าน ให้สมาชิกครอบครัวสามารถซึมซับความสดชื่นอย่างเป็นส่วนตัวได้ เพียงมองทะลุกระจกออกไปก็เห็นความเขียวขจีของต้นไม้ในทันที โดยที่ยังไม่ต้องก้าวออกจากตัวบ้าน

บริเวณชั้น 1 ออกแบบแปลนในรูปแบบ Open Plan เพื่อให้เกิดความตื่อเนื่องและลื่นไหลของพื้นที่ รวมห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และครัวเข้าไว้ด้วยกันอย่างหลวมๆ ไม่ใช้การก่อผนังปิดทึบแยกสัดส่วนห้องต่างๆ แต่ใช้ผนังกระจกและการเล่นระดับบ้าน เพื่อแบ่งขอบเขตการใช้งานแต่ละฟังก์ชันแทน ความพิเศษของบ้านยังไม่หมดเท่านี้ เพราะนอกจากการเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งานในแนวนอนแล้ว ยังเชื่อมต่อพื้นที่ในแนวตั้งของบ้านสูงสองชั้น (Double Space) บริเวณเหนือมุมนั่งเล่น  ทำให้บ้านยิ่งดูโอ่โถงและปฎิสัมพันธ์กันง่ายขึ้น

บ้านโมเดิร์นเว้นคอร์ท

สถาปนิก Looklen มักใส่ลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่าสนใจลงในงานเสมอ อย่างเช่น บันไดชั้นล่างใช้วัสดุไม้เป็นขั้นบันไดสลับกับคอนกรีตดูเหมือนเปียโนคีย์บอร์ด หรือบันไดในชั้นบนแทนที่จะเป็นการทำบันไดแบบหักกลับทั่วไป แต่ทีมงานกลับออกแบบให้จุดต่อเชื่อมแยกลอยตัวออกจากกันดูท้าทายอย่างน่าสนใจ

ในส่วนของชั้น 3 เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัวที่สุด จึงถูกจัดให้เป็นห้องนอนที่ออกแบบมาอย่างดี คือมีสวนแบบส่วนตัวที่มองลงไปก็เห็น และยังออกแบบผนังคอนกรีตปิดบังพื้นที่พักผ่อน โดยทำช่องเปิดที่เอื้อให้แสง ลม ธรรมชาติ มีส่วนร่วมกับห้องนอนได้อย่างแยบยล ชุดของตัวผนังที่ไม่ได้ติดกันเป็นผืนเดียว แต่มีช่องเปิดในทิศทางต่างๆ กันนี้ ยังเป็นตัวช่วยลดความร้อนเข้าสู่ห้องนอนโดยตรงจากแสงอาทิตย์ ที่อาจทะลุเข้ามาเข้ามาในส่วนของผนังกระจก ทำให้ห้องนอนมีความเป็นอิสระใช้ชีวิตได้แบบสบายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสายตาของเพื่อนบ้าน

บรรยากาศบ้านยามค่ำที่เปล่งประกายเหมือนตะเกียงดวงใหญ่ ทำให้เห็นว่าบางส่วนของบ้านที่ดูปิดนั้นไม่ได้มิดจนทึบ ยังคงมีความโปร่งเบาที่อนุญาตให้บ้านเชื่อมต่อกับชุมชนได้ พร้อมๆ กับใช้พื้นที่ภายในที่จัดสรรมาเป็นอย่างดีเป็นตัวกลางในการใช้งานสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในบ้านให้ชิดใกล้กว่าที่เคยแบบบ้าน