แบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล

แบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล

แบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสไตล์ ทั้งโมเดิร์น ลอฟต์ บ้านทรงไทยและอื่น ๆ อีกมากมาย และบ้านที่เราจะมาพูดถึงก็เกี่ยวข้องกับวลีที่ว่า ‘Less is More’ วลีสั้น ๆ ที่ได้ยินแล้วนึกถึง บ้านมินิมอล ซึ่งมีความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยความเก๋ไก๋และหรูหราจนมัดใจนักออกแบบบ้านหลายคนได้ ซึ่งเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์นี้คือการใช้งานอย่างเป็นประโยชน์โดยใช้เฟอร์นิเจอร์เพียงไม่กี่ชิ้นทำให้ดูเรียบแต่มีคุณค่านั่นเอง

บ้านเปิดโปร่ง ที่มีความเป็นส่วนตัว

การออกแบบบ้านสมัยใหม่ นิยมพื้นที่เปิดโปร่งที่เชื่อมโยงกับสวนนอกบ้าน หรือได้รับแสง ได้รับลมอย่างเหมาะสม ไร้ซึ่งมุมอับที่ทำให้ใช้สอยพื้นที่ได้ไม่เต็มที่ ทั้งยังทำให้กเจ้าของบ้านรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ในความเปิดโปร่งนั้น มีโจทย์อีกข้อที่มักมาควบคู่กัน คือ ความเป็นส่วนตัว ไม่โจ่งแจ้งจนเกินไป จนรู้สึกว่าการอยู่อาศัยภายในบ้านตัวเองนั้นกำลังถูกจ้องมองมาจากพื้นที่รอบนอก การออกแบบให้มีทั้งสองฟังก์ชันที่เหมือนจะอยู่กันคนละขั้ว จึงถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของสถาปนิก


แบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล

ขนาดพื้นที่ใช้สอยของบ้านประมาณ 500 ตารางเมตรเลยทีเดียว ‘Less is More’ บ้านชั้นเดียวหลังคาแบนที่ครอบคลุมอาณาเขตส่วนตัว แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ภายนอกเหมือนรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมธรรมดาทาด้วยสีขาวสว่างไสว เสริมภาพลักษณ์ของสไตล์โมเดิร์นให้ดูมินิมอลมากยิ่งขึ้น

พื้นที่ภายนอกสำคัญไม่น้อยกว่าพื้นที่ภายใน นี่คือความต้องการหลัก ๆ ของผู้เป็นเจ้าของ สถาปนิกจึงทำการเชื่อมโยงสวนกับบ้านให้ใกล้ชิดกับมากยิ่งขึ้น ทำการยกคอร์ทไปไว้ตามจุดต่าง ๆ จึงเกิดประโยชน์ 2 ต่อ อย่างแรกคือได้ความสดชื่นรื่นรมย์ และอย่างที่สองสวรจะช่วยป้องกันความเป็นส่วนตัวไม่ให้รั่วไหลออกไปด้วยการพรางสายตาจากภายนอกของบ้านหลังนี้ ไม่ได้ปิดทึบเสียทีเดียว เพราะไม่ต้องการให้ขัดขวางทางลมและแสงธรรมชาติที่ควรจะได้รับ ระแนงคอนกรีตทาสีขาว เว้นระยะห่างไว้อย่างเหมาะสม หากมองจากฝั่งตรงกันข้าม จะมองไม่เห็นพื้นที่ภายในบ้าน แต่สลับกันหากคนในบ้านมองออกไป จะเห็นความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน

ห้องแฟมิลี่ออกแบบผังแบบ Open Plan มุมนั่งเล่น ทานอาหารและครัวรวมอยู่ในบริเวณเดียว โซนนี้นับเป็นศูนย์กลางของบ้านเลยก็ว่าได้ สถาปนิกดีไซน์ให้มีบรรยากาศเหมือนกำลังนั่งพักผ่อนในศาลาสวน ทั้งสองด้านซ้ายขวาถูกขนาบด้วยคอร์ทเล็ก ๆ เพียงแค่รอเวลาอีกไม่นาน ต้นไม้ที่ปลูกไว้จะให้ร่มเงา และยิ่งทำให้ภายในห้องมีความเป็นส่วนตัวยิ่งกว่าเดิม


แบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล

ไม่ว่าจะพื้นที่ไหน หรือห้องใดของบ้านไม่อับแสง แม้กระทั่งในห้องน้ำ ยังเปิดช่องทางรับแสงผ่านทางหลังคา ตีระแนงไม้ชั้นล่างและติดวัสดุโปร่งใสด้านบน แสงธรรมชาติที่ส่องลงมากระจายไปทั่วทั้งโซนแห้ง โซนเปียก ความอับชื้นจึงไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

มีการซ่อนมุมนั่งเล่นไว้ โดยการบิลท์อินโต๊ะทำงานติดผนัง โต๊ะตัวยาวสามารถใช้พร้อมกันได้ 2 -3  คน ผนังด้านข้างเปิดโปร่งเป็นช่องทางพัดผ่านของลม จึงไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศมากเกินไปผนังชั้นในคือกระจกใสเต็มบาน ส่วนผนังชั้นนอกคือระแนงคอนกรีต ทำให้ห้องนอนโปร่งใส มีความสงบและไร้ความวุ่นวายในช่วงเวลาที่กำลังพักผ่อน

เมื่อมองออกไปจากห้องแฟมิลี่ จะเห็นวิวของสวนและสระว่ายน้ำขนาดใหญอย่างเต็มตา เนื่องด้วยผนัง ประตูกระจกที่ตั้งใจให้โปร่งใส หลังระเบียงตรงตำแหน่งที่ตรงกับมุมนั่งเล่นและทานอาหาร ไม่มีระแนงมาบดบัง เพราะด้วยระยะของที่ดินที่ใช้จัดสวนค่อนข้างห่างจากเพื่อนบ้าน


แบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล

การออกแบบให้มีระแนงคอนกรีตสีขาวอีกชั้น ไม่เพียงแค่เป็นการเพิ่มความสมบูรณ์ในเรื่องความสวยงามเท่านั้น ยังทำให้บ้านที่ภายในค่อนข้างเปิดโปร่ง รู้สึกอบอุ่นและมีเกราะป้องกันอยู่เสมอด้วย

 คอร์ทภายในบ้าน ไม่ควรจัดสวนที่ดูแลยากจนเกินไป เพราะหากขั้นตอนการดูแลยุ่งยาก สวนที่เคยสวนอาจถูกความรกโทรมเข้ามาแทนที่ เลือกต้นไม้ฟอร์มสวยสักต้น ไม่ควรเลือกต้นที่ใบร่วงเยอะ โรยพื้นรอบ ๆ ด้วยหินกรวดเม็ดเล็กเม็ดใหญ่ตามเหมาะสม จะได้ไม่ต้องตัดหญ้า ถอนหญ้าให้เสียแรง เสียเวลา แต่หากเจ้าของบ้านเป็นคนที่มีเวลาดูแล ชื่นชอบในการจัดสวนเป็นชีวิตจิตใจ ก็สามารถปลูกต้นไม้ ปลูกหญ้าเพิ่มได้เช่นกัน

บ้านมินิมอลที่อ่อนโยน อีกความหมายของคำว่า “บ้าน”


บ้านมินิมอล

ชีวิตที่วุ่นวายตั้งแต่เช้าจรดเย็น ทำให้บางครั้งก็เพียงอยากหามุมสงบ ๆ ที่จะพักกายพักใจได้อย่างเป็นตัวของตัวเองจริงๆ  บ้านจึงไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดมาก ขอแค่เข้าไปภายในแล้วรู้สึกโปร่ง โล่ง และอบอุ่นก็เพียงพอแล้ว สไตล์ของบ้านที่ว่ามานี้จะตรงกับบ้านหลาย ๆ แบบ อาทิ โมเดิร์นมินิมอล นอร์ดิก และบ้านสไตล์ญี่ปุ่นแนวคิด MUJI หรือวาบิซาบิที่เห็นคุณค่าของความเรียบง่ายและความไม่สมบูรณ์แบบ

สำหรับบ้านหลังนี้เป็นอีกหนึ่งรูปแบบโมเดิร์นแจแปนที่น่ารัก อ่อนโยนและชวนให้ผ่อนคลาย เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจของคนที่กำลังหาความหมายของคำว่า “บ้าน”โถงทางเข้ามีสีพื้นอบอุ่นสะดุดตา สำหรับบ้านญี่ปุ่นทางเข้าเป็น “หน้าตาของบ้าน” ที่สำคัญเช่นเดียวกับพื้นที่ใช้งานสำหรับครอบครัว เพราะเป็นส่วนที่ต้อนรับการเข้ามาตั้งแต่ก้าวแรก และเตรียมพร้อมสำหรับก้าวสุดท้ายก่อนออกไปข้างนอก นักออกแบบจึงได้วางชั้นวางเพดานสูงเพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถแสดงวิถีชีวิตและงานอดิเรกของสมาชิกครอบครัวเอาไว้ในจุดนี้

สำหรับบ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ต้องมีห้องเล็กๆ ถัดจากประตูเข้าบ้านที่เรียกกันว่า Genkan เป็นที่ถอดรองเท้าและเป็นที่คนในบ้านจะออกมารับแขกที่เข้ามาเยี่ยมบ้าน ซึ่งจุดนี้มักจะทำให้ต่ำกว่าพื้นบ้านประมาณ 30-60 cm. นอกจากส่วน Genkan จะเป็นพื้นที่ใช้งานแบบที่ว่าแล้ว ยังเป็นจุดที่จะบังพื้นที่ใช้งานภายในบ้านจากสายตาของคนที่เข้ามา แบ่งแยกภายนอกบ้านที่เป็นที่สำหรับคนนอกหรือแขก และภายในบ้านที่เป็นของส่วนตัวออกจากกันด้วย

ถัดเข้ามาด้านในบ้านจะเห็นบันไดที่สร้างความประทับใจให้กับการตกแต่งภายใน ผ่านการทาสีดำสนิทบริเวณแม่บันไดและพุกบันไดตัดด้วยลูกนอนที่เป็นไม้อ่อน ๆ ติดราวกันตกไม้ระแนงสีอ่น ๆ เช่นกัน ทำให้บันไดโปร่งเหมือนโครงกระดูกที่เปิดให้แสงที่นุ่มนวลส่องเข้ามา ไม่เพียงแต่ใช้เป็นทางเดินเท่านั้น แต่ยังให้ความลึกที่หลากหลายเติมมิติให้กับบ้านและชีวิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย


บ้านมินิมอล

เจ้าของบ้านมีแนวคิดว่าแทนที่จะปิดความสัมพันธ์กับภายนอกด้วยม่าน พวกเขาต้องการที่จะมีช่องเปิดให้สนทนาปราศัยกับท้องฟ้า แสง ธรรมชาติภายนอกด้วยกระจกใสให้มากที่สุด เมื่อยามค่ำมาเยือนการปิดทีวีแล้วชี้ชวนกันมองขึ้นไปบนท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ได้ใช้เวลาห่างจากหน้าจอสร้างปฏิสัมพันธ์และอยู่ด้วยกันกับครอบครัวเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม

ห้องนั่งเล่นโทนสีสว่างอบอุ่นเป็นมุมโปรดของทุกคนในครอบครัว เป็นจุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใกล้ชิดกับลูกได้มากขึ้น และยังสามารถใช้เป็นห้องรับรองแขกได้ด้วย ส่วนพื้นห้องปูด้วยเสื่อทาทามิที่มีคุณสมบัติกันกระแทกสูงจึงปลอดภัยสำหรับครอบครัวที่มีทารกและเด็กเล็ก  ส่วนนี้ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ แต่ใส่ความน่าสนุกเล็กน้อยด้วยการยกพื้นสูงขึ้นเล็กน้อย การใช้เสื่อทาทามิในบ้านนี้เป็นการย้ำว่า เสื่อทาทามิในห้องสไตล์ญี่ปุ่นเท่านั้น ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในห้องที่ตกแต่งทันสมัยได้ด้วย

ส่วนครัวไม่ได้สร้างผนังปิดกั้นเป็นห้องแยกออกไปต่างหาก แต่อยู่ในบริเวณเดียวกับส่วนใช้งานอื่น ๆ ของบ้าน เพียงแต่ก่อผนังขึ้นมาเป็นเหมือนบาร์เล็ก ๆ ภายในมีเคาน์เตอร์ 2 ด้านใส่สเปซว่างตรงกลาง ทำให้สามารถเข้าออกหมุนตัวใช้งานได้ง่าย ผนังติดกระเบื้องกันน้ำและกันความร้อนสีดำตัดเส้นสายตาให้ชัดเจนบนพื้นสีขาว จะทำให้ได้ทั้งรูปลักษณ์ที่สวยงามและการใช้งานที่พอเหมาะพอดี

 การตกแต่งบ้านนั้นก็เหมือนงานศิลปะที่จะมีการแสดงอารมณ์ บุคลิกลักษณะของตัวบ้าน อย่างความอบอุ่น น่ารัก ร่าเริง สงบ หรือดิบ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า Mood& Tone โดยหยิบจับวัสดุที่มีพื้นผิวและโทนสีต่าง ๆ มาใช้เพื่อสื่อถึงอารมณ์ ซึ่งแต่ละวัสดุก็จะมีคุณสมบัติเป็นเอกลัษณ์ต่าง ๆ กัน เช่น ไม้สีอ่อนกับไม้สีเข้ม ถึงจะให้ความรู้สึกอบอุ่น แต่ไม้สีอ่อนจะดูทันสมัย อ่อนโยน ในขณะที่สีเข้มดูขรึมและเป็นผู้ใหญ่กว่า งานผ้า งานเหล็ก คอนกรีต กระจก ก็มีบุคลิกที่ต่างกันไปเช่นกัน ดังนั้นการเลือกใช้จึงต้องมองภาพรวมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการสื่อสาร ในบ้านสไตล์มินิมอลจะนิยมใช้โทนสีไม้และวัสดุอื่น ๆ โทนอ่อน ๆ ตัดด้วยสีเข้มอย่างสีดำในบางจุดเพื่อให้ดูโมเดิร์น เป็นต้น


บ้านมินิมอล

จุดเด่น บ้านมินิมอล

จุดเด่นหลัก ๆ ของบ้านสไตล์มินิมอลนั่นก็คือ การแต่งบ้านแบบเรียบง่ายแต่หรูหรามีสไตล์ โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าบ้านสไตล์อื่น ๆ มีหลักการออกแบบจากเส้นตรงให้ดูเรียบที่สุดนั่นเอง ซึ่งเห็นได้จากเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่น้อยชิ้น และแต่ละชิ้นก็เรียบง่ายแต่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง หรือจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถใช้สอยประโยชน์ ได้จากฟังก์ชันที่แอบอยู่ เช่น การใช้กระจกที่มีชั้นวางของด้านใน หรือห้องใต้พื้นบ้านที่ส่งผลให้เกิดเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของบ้านสไตล์มินิมอลที่สำคัญคือ การมีพื้นที่บ้านที่สะอาดและเรียบร้อยนั่นเอง

เทคนิคแต่งบ้านสไตล์มินิมอล

ถ้าจะบอกว่าการแต่งบ้านสไตล์มินิมอล ให้สวยงามเป็นเรื่องที่ยากก็คงพูดได้อย่างเต็มปากว่า ไม่จริง เพราะเพียงแค่มีเคล็ดลับและการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ สี และของตกแต่งอย่างละเอียดถี่ถ้วน บ้านธรรมดาก็สามารถกลายเป็นบ้านสไตล์มินิมอลได้ ซึ่งเคล็ดลับการตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลสามารถแบ่งออกเป็นหลักการต่าง ๆ ได้ดังนี้

เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นและมีประโยชน์

อย่างที่รู้กันว่าเอกลักษณ์สำคัญของบ้านสไตล์มินิมอล คือบ้านที่เรียบร้อยสะอาดตา ทำให้การตกแต่งบ้านสไตล์นี้ต้องลดทอนเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่จำเป็นออกไป โดยเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์จำเป็น อย่างเตียงหรือราวตากผ้า ทำให้บ้านดูสะอาดและเรียบร้อย ซึ่งเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีประโยชน์ใช้สอย เช่น ตู้หรือพื้นที่คัดแยกของใช้ต่าง ๆให้เป็นระเบียบนั่นเอง

เว้นพื้นที่ว่าง

เมื่อเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นให้เหลืออยู่แล้ว การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องต่าง ๆ ก็ต้องจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อให้มีพื้นที่เหลือมากที่สุด โดยต้องจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตามหลักการของคุณมาริเอะ คอนโดะ ใน จัดบ้านรกให้เรียบร้อยสไตล์ ‘มาริเอะ คอนโดะ’ แต่ก็ต้องระวังอย่าให้บ้านของคุณว่างเปล่าเกินไปจนบ้านของคุณไม่เป็นบ้านสไตล์มินิมอลอีกต่อไป

เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์เรียบ

ความเรียบง่าย ก็ยังเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบ้านสไตล์มินิมอล และการที่จะเกิดความเรียบง่ายภายในบ้านได้ เช่น การใช้ประตูบานเลื่อน หรือการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์เรียบง่ายและทำจากไม้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้บ้านเรียบง่ายขึ้นได้ เพราะการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีลวดลายเกินไปทำให้เกินความจำเป็นและพอดี ซึ่งขัดกับคอนเซ็ปต์ของบ้านสไตล์มินิมอลนั่นเอง check here